ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 168
ภิกษุผู้มีฤทธิ์เมื่อจะทำวิกุพพนฤทธิ์ก่อน ในรูปร่างทั้งหลายมี
ร่างเด็กหนุ่มเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้ (ในปฏิสัมภิทามรรค) อย่างนี้
ว่า "ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั้นละรูปร่างปกติเสีย แสดงเป็นร่างเด็กหนุ่ม หรือ
แสดงเป็นร่างนาค... ร่างครุฑ... ร่างอสูร หรือแสดงเป็นเพศพระ-
อินทร์... เพศเทวดา....เพศพรหม หรือแสดงเป็นรูปสมุท...รูป
ภูเขา หรือแสดงเป็นร่างสีหะ....ร่างเสือโคร่ง...ร่างเสือเหลือง แสดง
เป็น (พล) ช้างบ้าง แสดงเป็น (พล) ม้าบ้าง แสดงเป็น
(พล) รถบ้าง แสดงเป็น (พล) ทหารราบบ้าง แสดงเป็น
กระบวนทัพต่าง ๆ บ้าง "" ดังนี้ เธอจำนงรูปร่างใด ๆ ก็พึ่งอธิษฐาน
รูปร่างนั้น ๆ ขึ้น ก็แลเมื่ออธิษฐาน ออกจากฌานที่เป็นบทแห่ง
อภิญญาอันมีกสิณ ในบรรดากสิณมีปฐวีกสิณเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นอารมณ์แล้ว จึงนึกถึงซวดทรงเด็กหนุ่มของตนเข้า ครั้นแล้วใน
ที่สุดแห่งบริกรรม พึงเข้าฌานอีก ออกแล้วจึงอธิษฐานว่า "เราจงเป็น
เด็กหนุ่มมีรูปอย่างนี้เถิด" พร้อมกับจิตอธิษฐาน เธอก็เป็นเด็กหนุ่ม
ไป ดังพระเทวทัตเป็นฉะนั้น ในบททั้งปวง (มีนาควณฺณ์ ทสฺเสติ
-แสดงเป็นร่างนาคเป็นต้น) ก็นัยนี้ ส่วนบทว่า "หตุถิมปิ
ทสฺเสติ - แสดงเป็น (พล) ช้างบ้าง " ในบาลีนั้น ท่านกล่าวโดยว่า
* ขุ. ป. ๓๑/๕๕๖.