ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 7
หน้าที่ 7 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงความปฏิกูลที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอาหารและผลกระทบที่มีต่อพระภิกษุเมื่อมีการสัมผัสอาหาร โดยสิ่งเหล่านี้รวมถึงความรู้สึกของความละอายในการบริโภคที่มาจากการแสวงหาอาหารที่อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ การสอนนี้มีความสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ในด้านบวชภายในกลุ่มพระสงฆ์ที่พยายามค้นหาความบริสุทธิ์และหลีกเลี่ยงความปฏิกูลจากการบริโภคเพื่อให้เกิดสติอยู่เสมอ

หัวข้อประเด็น

-ความปฏิกูลโดยการบริโภค
-การบริโภคของพระภิกษุ
-ผลกระทบจากการใช้ชีวิตของพระภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 7 สิ่งปฏิกูลมีเลนเป็นอาทิดังกล่าวมาฉะนี้นี่ เป็นสิ่งที่เธอจำต้อง เหยียบย่ำด้วย จำต้องเจอด้วย จำต้องทนด้วย ตั้งแต่เข้าสู่หมู่บ้าน จนกระทั่งออกไป ก็เพราะอาหารเป็นเหตุโดยแท้ ความปฏิกูลโดย การแสวงหา พระโยคาวจรจึงเห็นลงดังนี้เถิดว่า "โอ ! ปฏิกูล จริงนะพ่อ อาหาร (นี่) " (ปริโภคโต - ปฏิกูล โดยการบริโภค] (ความปฏิกูล) โดยการบริโภคเป็นอย่างไร ? ก็ความปฏิกูล โดยการบริโภค บรรพชิตผู้มีอาหารอันแสวงหา (ได้มา) อย่างนี้แล้ว นั่งตามสบายอยู่ในที่อันผาสุกภายนอกหมู่บ้าน จึงเห็นลงดังนี้เถิดว่า "เธอยังมิได้หย่อนมือลงในอาหาร (ที่อยู่ในบาตร) นั้นเพียงใด เธอได้เห็นภิกษุผู้เป็นครุฐานิยะก็ดี คนผู้เป็นลัชชีก็ดี เช่นนั้นแล้ว ก็อาจนิมนต์ (หรือเชื้อเชิญให้บริโภคอาหารนั้น) ได้อยู่เพียงนั้น แต่ครั้นพอเธอหย่อนมือลงในอาหารนั้นด้วยใคร่จะฉัน จะกล่าว (เชื้อ เชิญท่าน) ให้รับ (อาหารนั้น) มีอันจะต้องกระดากอาย” ครั้น เมื่อเธอหย่อนมือลงแล้วขยำอยู่ เหงื่อ (มือ) ออกตามนิ้วทั้ง ๕ ทำข้าวสุกแม้ที่กระด้างเพราะความแห้งให้ชุ่มจนอ่อนไปได้ บิณฑบาตนั้นเสียงความงามไปแล้วเพราะการกระทำแม้เพียงขยำ เธอ ทีนี้ ครั้น ๑. ลชุชิมนุสฺส์ (คนผู้เป็นลัชชี) นี้ ถ้าหมายถึงคฤหัสถ์ก็อย่างไรอยู่ เพราะอาหารที่ ภิกษุยังมิได้ทำให้เป็นแดน จะให้คฤหัสถ์ได้ก็เฉพาะมารดาบิดาเท่านั้น ให้คฤหัสถ์อื่น เป็นอาบัติเพราะทำให้ศรัทธาไทยให้ตก เพราะฉะนั้นถ้าเป็น ลชชิภิกขุ ก็จะสนิทดี ๒. เพราะเกรงไปว่าท่านจะรังเกียจว่าจะให้ของที่เป็นแดน.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More