ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 237
แต่คำของเกจิอาจารย์นั้นถูกคัดค้านในอรรถกถาทั้งหลายว่า "คำ
นั้นไม่ชอบ เพราะคนแม้คิดนึกกันไป ๑๐๐ ปี ๑,๐๐๐ ปี ก็ดี จิตที่เป็น
เครื่องนึกคิด และจิตที่เป็นเครื่องรู้ ทั้งสองนั้น มิได้มีฐานร่วมกันเลย
และเพราะโทษคืออาวัชนจิต และชวนจิตถึงซึ่งความมีอารมณ์ต่างกันไป
ในฐานอันไม่ต้องการ (โดยเป็นการนอกออกไปจากวิถีแห่งมรรค
ผล ?)"
ส่วนสันตติปัจจุบันและอัทธาปัจจุบัน พึงทราบว่า เป็นอารมณ์
(แห่งเจโตปริยญาณ) ได้ พระอรรถกอาจารย์กล่าว (อธิบาย) ไว้
ในอรรถกถาสังยุตนิกายว่า "ในปัจจุบันสองอย่างนั้น จิตของคนอื่น
ในกาลประมาณ ๒-๓ ชวนวิถี โดยเป็นอดีตหรืออนาคต แต่ชวนวิถี
อันเป็นไปอยู่ (คือปัจจุบัน) อันใด จิตของคนอื่นทั้งปวงนั้น ชื่อสันตติ
ปัจจุบัน ส่วนอัทธาปัจจุบัน จึงชี้แจงด้วยชวนวาร" ดังนี้ คำของ
พระอรรถกถาจารย์นั้นกล่าวดีแล้ว (ต่อไป) นี้เป็นคำชี้แจงในอัทธา
ปัจจุบันนั้น คือ
ภิกษุผู้มีฤทธิ์ใคร่จะรู้จิตของคนอื่น อาวัชนาการไป อาวัชนะ
(จิตนั้น) ทำขณปัจจุบันเป็นอารมณ์แล้วดับไปพร้อมกับอารมณ์นั้น
นั่นเอง แต่นั้น ชวนะ ๔ หรือ ๕ ดวง (แล่นไป) ซึ่งดวงสุดท้าย (คือ
ดวงที่ ๔ หรือดวงที่ ๕) เป็นอิทธิจิต นอกนั้นเป็นกามาวจรจิต
จิตที่ดับไปแล้วนั่นเองเป็นอารมณ์แห่งจิตทั้งปวงนั้น และจิตทั้งหลาย
นั้นหามีอารมณ์ต่าง ๆ กันไม่ เพราะความที่จิตเหล่านั้นมีปัจจุบันโดย
*
เมื่ออ้างเช่นนี้ ก็ส่อว่าวิสุทธิมรรคนี้แต่งทีหลังอรรถกถาสังยุต แต่พบในอรรถกถา
ๆ
อังคุตตร (๒/๕) แก้หิริโอตตัปปะย่อ ๆ แล้วบอกว่าความพิสดารกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรค
กลับแสดงว่าแต่งวิสุทธิมรรคก่อนอรรถกถาอังคุตตร