การเกิดดวงจันทร์และดวงนักษัตร วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 197
หน้าที่ 197 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเกิดดวงจันทร์และดวงนักษัตรหลังจากที่ดวงอาทิตย์อัสดง มีการกล่าวถึงการยอมรับแสงสว่างจากดวงจันทร์ว่าเป็นสิ่งที่รู้ใจของพวกเขา และชื่อจันทะที่ตั้งให้กับดวงจันทร์ รวมถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อดวงดาวเริ่มปรากฏชัดในคืนวันนั้น เนื้อหานี้มาจากวิสุทธิมรรคที่อธิบายเกี่ยวกับพัฒนาการของเวลาภายใต้พระพุทธศาสนา โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงจากกลางวันไปสู่กลางคืนและการรับรู้ของมนุษย์ต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งทำให้ชีวิตมีความหมายมากขึ้น ดวงจันทร์ได้รับการเชื่อมโยงกับความพึงพอใจของผู้คนและเป็นสัญลักษณ์ของการมีแสงสว่างเมื่อแสงจากดวงอาทิตย์หายไป.

หัวข้อประเด็น

-การเกิดของดวงจันทร์
-การปรากฏของดวงนักษัตร
-ความเชื่อมโยงกับคำสอนในพระพุทธศาสนา
-ความหมายของแสงสว่างในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 197 [เกิดดวงจันทร์] อยู่มา ครั้นสูรย์ทำความสว่างในกลางวันแล้วอัสดงไป เขา ทั้งหลายก็คร่ำครวญว่า "พวกเราได้แสงสว่างดวงใดเล่า แสงสว่างดวง นั้นของเราก็มาหายไปเสียแล้ว" ก็เกิดกลัวกันขึ้นมาอีก พวกเขาได้ แต่คิดรำพึงกันไปว่า "จะเป็นการดีนะ หากว่าพวกเราได้แสงสว่างอีก ดวงหนึ่ง " (ครั้นนั้น) ดวงจันทร์ (ใหญ่) ๕๐ โยชน์หย่อนหนึ่ง ราวกะรู้ใจของพวกเขา ก็เกิดปรากฏขึ้น พวกเขาได้เห็นดวงจันทร์นั้น ยิ่งตื่นเต้นยินดีนัก พากันตั้งชื่อดวงจันทร์นั้นว่า "จันทะ" นั่นเอง เพราะ(เนื่องด้วย) คำที่พวกเขากล่าวกันว่า "ดวงสว่างนั้นราวกะรู้ฉันทะ (ความพอใจ) ของพวกเรา โผล่ขึ้นมา เพราะฉะนั้น ดวงสว่างนั่น จงชื่อว่า จันทะ (ผู้ราวกะรู้ฉันทะของสัตว์ โผล่ขึ้น) เถิด” ดังนี้ [เกิดดวงนักษัตร คืนวัน....ทวีป ครั้นจันทร์สูรย์เกิดปรากฏอย่างนั้นแล้ว ดวงดาวนักษัตรทั้งหลาย ก็เกิดปรากฏขึ้น จำเดิมแต่นั้น กลางคืนกลางวันก็รู้กันขึ้น และเดือน กึ่งเดือน ฤดู ปี ก็รู้จักขึ้นโดยลำดับ อนึ่ง ในวันที่จันทร์สูรย์เกิดปรากฏขึ้นนั่นเอง” ภูเขาสิเนรุ ภูเขา ๑. เล็งถึงดวงอาทิตย์ซึ่งใหญ่ ๕๐ โยชน์เต็ม (ปริปุณฺณปญฺญาสโยชน์) ส่วนดวงจันทร์ ๕๐ โยชน์หย่อน คือ ๔๕ โยชน์ ๒. ถ้าอย่างนี้ ก็หมายความว่า จันท แปลงมาจาก ฉันท. ๓. ตรงนี้คลุมไป เพราะสูรย์กับจันทร์มิได้เกิดพร้อมกัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More