ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 236
ปัจจุบัน วิญญาณย่อมผูกหันด้วยอำนาจฉันทราคะในปัจจุบันนั้น เพราะ
ความที่วิญญาณผูกพันอยู่ด้วยอำนาจฉันทราคะ บุคคลจึงยินดีนักใน
ปัจจุบันนั้น เมื่อยินดีนักในปัจจุบันนั้น จึงชื่อว่าคลอนแคลนใน
ปัจจุบันธรรมทั้งหลาย "" ดังนี้
ก็ในปัจจุบันทั้งสองนี้ สันตติปัจจุบันมาในอรรถกถาทั้งหลาย
อัทธาปัจจุบันมาในพระสูตร
ในปัจจุบันทั้งสามนั้น อาจารย์ลางพวกกล่าวว่า "ขณปัจจุบัน
จิต เป็นอารมณ์ของเจโตปริยญาณได้" มีคำถามว่า เพราะเหตุไฉน ?
มีคำแก้ว่า "เพราะจิตของผู้มีฤทธิ์และของผู้อื่น ย่อมเกิดขึ้นในขณะ
เดียวกันได้" และนี้เป็นคำอุปมาแห่งจิตเหล่านั้น คือเมื่อดอกไม้
กำหนึ่ง บุคคลซัดไปในอากาศแล้ว ดอกไม้ดอกหนึ่ง ย่อมจะเสียบก้าน
เข้ากับก้านของดอก (อีก) ดอกหนึ่งได้เป็นแน่ ฉันใด เมื่อจิตของ
คนหมู่มากคิดนึกกันเป็นกลุ่มด้วยตั้งใจว่า "เราจักรู้จิตของคนอื่น "
จิตของคนผู้หนึ่งย่อมจะประสานเข้ากับจิตดวงหนึ่ง (ของผู้ใดผู้หนึ่ง
ในหมู่นั้น) ในอุปบาทขณะ หรือฐิติขณะ หรือภังคขณะก็ได้ เป็นแท้
ฉันนั้น"
๑.
วิญญาณชนิดนี้ ท่านเรียกว่า นิกันติวิญญาณ (วิญญาณใคร่)
๒. คำว่าคลอนแคลนนี้ มหาฎีกาอธิบายว่า ถูกกิเลสมีตัณหาและทิฏฐิเป็นต้นชักไป (ให้
ยินดียินร้ายมีประการต่างๆ)
๓. ม.อุ. ๑๔/๓๖๖
๔. มหาฎีกาว่า ที่ท่านไม่กล่าวว่า ขณะปัจจุบันมาในบาลี เพราะการทำอารมณ์ โดย
ขณปัจจุบันนั้น ไม่มาในอรรถกถา (?)
๕. ว่าหมายถึงเกจิอาจารย์วัดอภัยศรี