วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 232
หน้าที่ 232 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาที่กล่าวถึงพระโยคีและการทำอธิษฐาน ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระที่อธิษฐานเกี่ยวกับกลิ่นหอม และพระอัสสคุตตเถระที่อธิษฐานให้ได้น้ำนมส้มในเวลาปุเรภัต เนื้อหายกตัวอย่างการที่จิตและการอธิษฐานมีอิทธิพลต่อกรรมที่เกิดขึ้น เช่น กลิ่นหอมไม่ดับเมื่ออธิษฐานไว้อย่างปฏิรูป และน้ำในตระพังที่เปลี่ยนตามการอธิษฐานในช่วงเวลาที่กำหนด

หัวข้อประเด็น

-การอธิษฐานในพระพุทธศาสนา
-อารมณ์ของจิต
-พระเถระและปาทุกฌาน
-การทำอทิสสมานกาย
-พระมหาธาตุและมหาฎีกา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 231 ลงไปในรูปกาย เมื่อนั้นปาทุกฌานจิต ก็เป็นอารมณ์ที่ได้อุปโยคะ (คือใช้การได้อย่างรูปกาย ?)" ดังนี้ อนึ่ง จัดเป็นอดีตารมณ์ ก็เพราะทำ (ปาทุกฌาน) จิตนั้นแหละ ที่ล่วงไปแล้วคือดับไปแล้ว ให้เป็นอารมณ์ เป็นอนาคตารมณ์ สำหรับพระโยคีทั้งหลายผู้อธิษฐาน (ฤทธิ์) ไว้เป็นอนาคต ดังพระเถระทั้งหลาย มีพระมหากัสสปเถระเป็นต้น (อธิฐานไว้) ณ ที่บรรจุพระมหาธาตุ” ได้ยินว่า พระมหากัสสปเถระ เมื่อทำการบรรจุพระมหาธาตุ ได้อธิษฐานไว้ว่า "ตลอด ๒๑๘ ปี ใน อนาคต กลิ่นหอมทั้งหลาย (นี้) ก็อย่าได้ดับไป" ดังนี้ ของ ทุกสิ่งนั้น ก็ได้เป็นตามที่อธิษฐานนั้นเทียว พระอัสสคุตตเถระเห็นหมู่ภิกษุในวัตตนิยเสนาสนะ"ฉันข้าวขาวๆ (คือข้าวเปล่า ไม่มีแกงกับคลุกเลย ?) จึงอธิษฐานไว้ว่า "(น้ำใน) ตระพัง จงเป็นน้ำนมส้ม (ข้น ๆ คลุกข้าวได้) ในเวลาปุเรภัต ทุกวัน ๆ" ดังนี้ น้ำ (ในตระพุงนั้น) ที่ภิกษุตักเอาในปุเรภัต เป็นน้ำนมส้มไป ครั้นปัจฉาภัต มันก็เป็นน้ำตามปกตินั่นเอง แต่เป็นปัจจุปันนารมณ์ ในกาลที่พระโยคีทำกายให้อาศัยจิต ไป ด้วยอทิสสมานกาย ๑. มหาฎีกาว่า หมายถึง ที่บรรจุพระมหาธาตุ ซึ่งพระเถระใช้ฤทธิ์เชิญเอาพระธาตุใน พระเจดีย์ที่ผู้ครองนครทั้ง 4 สร้างขึ้นเมื่อคราวแจกธาตุนั้น เว้นเจดีย์ที่รามคามเสีย แห่ง ๑ เอาแต่ ๒ แห่ง มาบรรจุไว้ ณ พระมณฑปในกรุงราชคฤห์ (?) ๒. มหาฎีกาว่า วิหารในดงดิบ ชื่อวัตตนิยเสนาสนะ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More