วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 161
หน้าที่ 161 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการทำให้ที่ไกลมาใกล้และของใหญ่ให้เป็นของเล็ก ซึ่งเป็นการสอนจากพระเถระแก่แก่เกี่ยวกับความคิดในการเคารพพระมหาโพธิ และการออกเดินทางไปยังสถานที่ที่สำคัญ โดยได้ยกตัวอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระมหากัสสปเถระในการทำสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกัน ผู้อ่านจะได้เข้าใจการแสดงออกทางจิตใจและกระบวนการเกิดขึ้นของธรรมะได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งวิธีการทำสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งที่ง่าย.

หัวข้อประเด็น

-การทำให้ใกล้
-การทำให้เล็กลง
-บทบาทของพระเถระ
-การเคารพพระมหาโพธิ
-การเข้าถึงธรรมะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

" ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 161 ท่านว่า "อาวุโส พระเถระแก่ ๆ ละก็ จับเอาที่ ๆ อยู่ไกลมาทำให้ อยู่ใกล้ก็ได้นะ " ภิกษุทั้งหลายเรียนถามว่า "มหาสมุทรอยู่ไหนล่ะ ขอรับ" ท่านจึงว่า "อาวุโส พวกท่านได้ผ่านได้ผ่านเหมือนน้ำเขียวแห่ง หนึ่งในระหว่างทางมามิใช่หรือ " ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า "ใช่ ขอรับ แต่ว่ามหาสมุทรน่ะใหญ่นี่นา" ท่านก็ว่า "อาวุโส พระเถระแก่ ๆ ละก็ ทำของใหญ่ให้เป็นของเล็กก็ได้นะ" อนึ่ง พระจุฬสมุทรเถระนี้ฉันใด แม้พระติสสทัตตเถระก็ฉันนั้น ในตอนเย็น สรงน้ำ ครองอุตตราสงค์แล้ว พอความคิดว่า "เรา จักไหว้พระมหาโพธิ" เกิดขึ้น ก็ทำ (พระมหาโพธิซึ่งอยู่ไกล) ให้ มาอยู่ใกล้ได้ [ทำที่ใกล้ให้ไกล] ถามว่า "ฝ่ายหนึ่ง ใครจับเอาที่ใกล้มาทำให้เป็นที่ไกล ?" ตอบ ว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า" จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำ ที่ระหว่างพระองค์กับโจรองคุลิมาลซึ่งเป็นที่ใกล้ ให้เป็นที่ไกลก็ได้ [ทำของมากให้เป็นของน้อย ถามว่า "ก็แล้วใครทำของมากให้เป็นของน้อย" ตอบว่า พระมหากัสสปเถระ" ได้ทราบว่า ในวันนักขัตฤกษ์ (วันหนึ่ง) ในกรุงราชคฤห์ กุมาริกาประมาณ ๕๐๐ คน ถือขนมวงเดือน เดินกัน * จนฺทปูว คงจะทำเป็นวง อย่างขนมกงขอไทยเรา หรือทำเป็นแผ่นกลม อย่าง ขนมของจีนกระมัง ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More