วิสุทธิมรรคแปล: ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐีและสัปปิมัณฑะ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 163
หน้าที่ 163 / 244

สรุปเนื้อหา

ในพระวิสุทธิมรรคภาค ๒ ตอน ๒ พูดถึงคำสอนเกี่ยวกับการทำอาหารและศีลธรรม ทำของอร่อยได้ไม่ว่าจะเป็นการทำของน้อยให้เป็นของมาก หรือทำของไม่อร่อยให้เป็นของอร่อย พระมหาอนุฬเถระให้สัญญาว่าน้ำในแม่น้ำจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าอย่าง 'สัปปิมัณฑะ' ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากนมชั้นเลิศที่สามารถคลุกข้าวกินได้อร่อย การได้รับตำแหน่งเศรษฐียังต้องอยู่ภายใต้การแต่งตั้งจากพระราชา ไม่ได้เกิดจากการตั้งตัวเอง เป็นตัวอย่างของการดำรงชีวิตตามหลักศีลธรรมและการอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณค่าในสังคม

หัวข้อประเด็น

-หลักคำสอนพระพุทธศาสนา
-การทำอาหารในคำนิยม
-เศรษฐีในพระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของสัปปิมัณฑะ
-การทำอร่อยในบริบทศีลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 163 นั้น) ให้ (มากขึ้น) พอแก่ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ข้าวต้มที่พระเถระ นำมาด้วยบาตรใบเดียวจึงเป็นอันพอแก่ภิกษุทุกรูป ข้างฝ่ายกากวฬิยะ ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี ในวันที่ครบ ๗ แล [ทำของไม่อร่อยให้อร่อย ฯลฯ ก็ได้ ใช่แต่ทำของน้อยให้เป็นของมากได้เท่านั้นก็หาก็ได้ แม้ในการ ทำต่าง ๆ มีทำของอร่อยให้เป็นของไม่อร่อย ทำของไม่อร่อยให้เป็น ของอร่อย ดังนี้เป็นต้น ผู้มีฤทธิ์ปรารถนาการทำ (อย่าง) ใด ๆ การทำ (อย่าง) นั้น ๆ ก็สำเร็จแก่ผู้มีฤทธิ์ทั้งสิ้น จริงอย่างนั้น พระมหาอนุฬเถระนั่นเป็นไร (ท่าน) เห็นภิกษุเป็นอันมาก เที่ยว บิณฑบาตได้อาหารปอน ๆ (มา) นั่งฉันกันอยู่ที่ริมฝั่งริมแม่น้ำ” ก็ อธิษฐานว่า "น้ำในแม่น้ำจงเป็นสัปปิมัณฑะ"" แล้วให้สัญญาแก่ สามเณรทั้งหลาย (คือชี้ให้สามเณรเข้าใจว่าน้ำในแม่น้ำกลายเป็นเนย แล้ว) สามเณรเหล่านั้นจึงใช้ถ้วยตักมาถวายภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งปวง การเป็นเศรษฐีครั้งกระนั้น ต้องได้รับแต่งตั้งจากพระราชา ไม่ใช่ยกกันเอาเอง เพราะฉะนั้น เสฏฐิฏฐาน จึงได้แปลว่าตำแหน่งเศรษฐี 9. ๒. คงคาที่เร มหาฎีกาท่านว่าในตามพปัณณิทวีปก็มีแม่น้ำคงคาเหมือนกัน แต่ในที่นี้ แปลว่าแม่น้ำเฉยๆ เพราะไม่แน่ใจว่าในลังกามีแม่น้ำคงคา ๓. สัปปิมัณฑะ เป็นผลิตภัณฑ์จากนมชนิดหนึ่ง พบในบาลีปัญจกังคุณตตระว่าเป็นยอด ของผลิตภัณฑ์จากนม โดยเทียบคุณค่าไว้ดังนี้ : ทธิ (นมส้ม) ดีกว่า (จีระ) นมสด นวนีตะ (เนยข้น) ดีกว่า ทธิ สัปปิ (เนยใส) ดีกว่า นวนตะ สัปปิมัณฑะ ดีกว่า สัปปิ โดยนัยนี้ สัปปิมัณฑะ น่าจะได้แก่ "หัวเนยใส" เช่นเดียวกับ "หัว กระทิ " ของเรา คลุกข้าวกินได้ อร่อยด้วย !
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More