วิมุติและเจโตปริญาณในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 179
หน้าที่ 179 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาวิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับวิมุติทั้ง ๕ และเจโตปริญญาณ โดยสำรวจลักษณะของจิตในระดับต่างๆ เช่น จิตมีราคะและจิตยังไม่พ้น มีการพูดถึงปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ซึ่งช่วยให้นักปฏิบัติเข้าใจการเกิดและดับของจิตในชาติที่ผ่านๆ มา รวมทั้งการเห็นจิตของผู้อื่นผ่านการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบกับสติปัฏฐานสูตร และวิจัยเกี่ยวกับอภิญญา ๕ ที่จัดอยู่ในประเภทโลกิยาจิต

หัวข้อประเด็น

-วิมุติและเจโตปริญญาณ
-ความหมายของปุพเพนิวาส
-จิตทั้ง ๘ คู่นี้
-อภิญญา ๕
-การวิเคราะห์จิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 179 วิมุติทั้ง ๕ อย่างนั้น ชื่อว่าวิมุตจิต (จิตยังไม่พ้น) ภิกษุผู้ได้เจตโตปริญาณ ย่อมรู้จิตทุกประการว่า "จิตนี้เป็นจิตมี ราคะหรือ ฯลฯ หรือว่าเป็นจิตยังไม่พ้น" ด้วยประการฉะนี้แล เจโตปริยญาณกถา จบ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา [อรรถาธิบายศัพท์บาลีในญาณนี้ ในปุพเพนิวาสานุสสติญาณกถา มีอรรถาธิบายว่า บทว่า "ปุพฺเพ- นิวาสานุสสติญาณาย - เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ" คือญาณใด (จะพึงเป็นไป) ในปุพเพนิวาสานุสสติ เพื่อประโยชน์แก่ญาณนั้น คำ ว่า "ปุพเพนิวาส" หมายถึงขันธ์ที่ตนอาศัยอยู่ในปางก่อน คือในชาติ ที่ล่วงแล้วทั้งหลาย คำว่า "นิวุฏฺฐ - ที่ตนอาศัยอยู่ " หมายความว่าที่ ตนครอบครองมา ที่ตนเสวยมา ที่มันเกิดดับอยู่ในสันดานของตนมา * จิต ๘ คู่นี้ เป็นอย่างเดียวกันกับที่กล่าวในจิตตานุปัสนาสติปัฏฐาน ซึ่งในที่นั้นท่าน ให้พิจารณารู้จิตของตนเอง ตามที่มันเป็นอย่างไร แต่ในที่นี้เป็นการรู้จิตของคนอื่นที่ เป็นเช่นนั้น ในอรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตรว่า จิตเหล่านี้เป็นโลกิยจิตทั้งนั้น เช่น สอุตตรจิต ท่านก็ว่าได้แก่กามาวจร อนุตตรจิต ได้แก่รูปาปาวจร วิมุตจิต ก็หมายเพียง ตทังค วิมุต และวิกขัมภนวิมุต แต่ที่นี่แก้ถึงโลกุตระก็มี เช่นอนุตตรจิต ว่าได้แกโลกุตตรจิต วิมุตจิต ก็แก่ถึงสมุจเฉท... ก็น่าคิดอยู่ว่า อภิญญา ๕ นี้ เป็นโลกิยอภิญญา ผู้ได้เจโตปริยญาณนี้ก็ยังไม่ได้บรรลุ มรรคผล จะไปรู้โลกุตตรจิตได้อย่างไร ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More