ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 28
รำพึงถึงรูปกายของตนให้ทั่งร่าง กำหนดถือเอา (เป็น) ธาตุทั้งหลาย
โดยสังเขปอย่างนี้ว่า "ภาวะที่กระด้างก็ดี ภาวะที่แข็งก็ดี อันใด (มี
อยู่) ในกายนี้ อันนี้เป็นธาตุดิน ภาวะที่ซึมซาบก็ดี ภาวะที่เหลว
ก็ดี อันใด (มีอยู่) ในกายนี้ อันนี้เป็นธาตุน้ำ ภาวะที่เผาไหม้ก็ดี
ภาวะที่ร้อนก็ดี อันใด มีอยู่) ในกายนี้ อันนี้เป็นธาตุไป ภาวะ
ที่พัดไปก็ดี ภาวะที่ไหวได้ก็ดี อันใด (มีอยู่) ในกายนี้ อันนี้เป็น
ธาตุลม" ดังนี้แล้ว คะนึงนึกไปพิจารณาไปโดยว่าเป็นแต่ธาตุ หา
สัตว์หาชีวะมิได้ (โดยบริกรรม) ว่า "ธาตุดิน ธาตุน้ำ" เป็นต้นไป
แล้ว ๆ เล่า ๆ เมื่อภิกษุนั้นพยายามไปอย่างนั้น สมาธิอัน (ภาว
นา) ปัญญาที่ (ทำกิจ) สอดส่องความแตกต่างแห่งธาตุกำหนดยึด
เอาได้ เป็นสมาธิไม่ถึงอัปปนา เป็นเพียงอุปจาร เพราะความที่มี
สภาวธรรมเป็นอารมณ์ ย่อมจะเกิดขึ้นโดยไม่ช้าเลย
หรือมิฉะนั้น โกฏฐาส ๔ เหล่านี้ใดที่พระธรรมเสนาบดีกล่าวไว้
เพื่อแสดงความที่มหาภูตทั้ง ๔ เป็นนิสสัตตะ (หาสัตว์ คือวิญญาณ
มหาฎีกาว่า ฤทฺธภาโว - ภาวะที่กระด้าง เป็นลักษณะ ขรภาโว - ภาวะที่แข็ง เป็น
อาการที่ปรากฏแห่งธาตุดิน ทรวภาโว - ภาวะที่เหลว เป็นลักษณะ อาพนธนภาโว
ภาวะที่ซึมซาบ เป็นอาการที่ปรากฏแห่งธาตุน้ำ อุณหภาโว - ภาวะที่ร้อน เป็นลักษณะ
ปริปาจนภาโว - ภาวะที่เผาไหม้ เป็นอาการที่ปรากฏแห่งธาตุไฟ วิตฺถมภนภาโว ภาวะ
ที่พัดไป เป็นลักษณะ สมุทรณภาโว - ภาวะที่ไหวได้ เป็นอาการที่ปรากฏแห่งธาตุลม
ที่ว่าอาการที่ปรากฏ หมายถึงอาการที่ชัดแจ้งแก่ญาณ โดยธาตุทำหน้าที่ของมัน
ให้ปรากฏ
ที่ท่านกล่าวธาตุละ ๒ บท เพราะเมื่อมนสิการธาตุไป ลางคนธาตุก็ปรากฏทาง
สภาวะคือลักษณะ ลางคนก็ปรากฏทางกิจคือหน้าที่ของมัน ทางใดปรากฏก็ถือเอาทา
นั้นมนสิการไป.