วิสุทธิมรรคแปล: การอธิษฐานจิตและจำนวนคน วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 123
หน้าที่ 123 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงกระบวนการอธิษฐานจิตโดยการนึกถึงจำนวนคนที่มากซึ่งในพระโยคีกำหนดให้มีจิตสัมปยุตด้วยรูปาวจรจตุตถฌานแบบเฉพาะ อธิบายถึงการเกิดขึ้นของจิตในสมาบัติและการอธิษฐานด้วยญาณในอภิญญา โดยแสดงความสำคัญของคำว่า 'อธิษฐานด้วยญาณ' ที่พึงเข้าใจในลักษณะโดยรายละเอียดในการปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-อธิษฐานจิต
-จิตสัมปยุต
-อภิญญา
-การจำแนกจำนวนคน
-พระโยคี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 123 (เพศที่นึกกำหนดขึ้น) หาเป็นบัญญัติ (ว่าสัตว์คนจริง ๆ) ไม่ แม้จิต ในอธิษฐานก็อย่างนั้นเหมือนกัน คือมีคนจำนวนร้อยเป็นอารมณ์ หรือ มีคนเป็นจำนวนพันเป็นอารมณ์ อธิษฐานจิตนั้น เป็นจิตสัมปยุตด้วย รูปาวจรจตุตถฌาน เกิดขึ้นดวงเดียวเท่านั้นต่อกับโคตรภูจิต เช่นดัง อัปปนาจิตที่กล่าวมาแต่ก่อน แม้ในคำที่กล่าวในปฏิสัมภิทาว่า "โดย ปกติ (พระโยคี) เป็นคนผู้เดียว (แต่) นึกให้เป็นคนมากจำนวน ๑๐๐ ก็ดี จำนวน ๑,๐๐๐ ก็ดี จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ ก็ดี ครั้นนึกแล้วก็อธิษฐาน ด้วยญาณว่า "เราจงเป็นคนจำนวนมาก" เธอก็เป็นคนมากจำนวน ๑๐๐ ดังท่านจุลปันถกฉะนั้น " ดังนี้เล่า คำว่า "อาวชฺชติ - นึก" ท่านก็ กล่าวโดยเป็นบริกรรมนั่นเอง (ไม่ใช่อาวัชชนะ) คำว่า "ครั้นนึกแล้ว ก็อธิษฐานด้วยญาณ" (นี่) ก็กล่าวโดยเล็งเอาญาณในอภิญญา (ไม่ใช่ ญาณที่สัมปยุตด้วยบริกรรมจิต หรือญาณที่เป็นกามาวจรอื่น ๆ) เพราะ เหตุนั้น บัณฑิตพึงเห็นความในคำว่า "อธิษฐานด้วยญาณ" นั้น ดังนี้ ว่า (พระโยคี) นึกให้เป็นคนมาก ครั้นแล้วในที่สุดแห่งบริกรรมจิต เหล่านั้นก็เข้าสมาบัติ ออกจากสมาบัติแล้วนึกอีกว่า "เราจงเป็นคนมาก" แล้วจึงอธิษฐานด้วยญาณในอภิญญา อันเป็นญาณดวงเดียวเกิดขึ้นใน ลำดับแห่งจิตที่เป็นบุพภาคสามหรือสี่ดวงที่เป็นไปต่อแต่นั้น ซึ่งได้ชื่อ ว่า อธิษฐาน (ญาณ) ด้วยอำนาจที่เป็นเหตุให้สำเร็จลง" ดังนี้เทอญ ส่วนคำที่ว่า "ดังท่านจุลปันถูก" นั้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงกาย สักขี (ประจักษ์พยาน) แห่งพสุธาภาพ (ความอธิษฐานให้เป็นคนมาก) ก็คำนั้นควรแสดงด้วยเรื่อง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More