ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 227
ในข้ออุปมาทั้งหลายนั้น แสงสว่างกสิณในเวลาบริกรรม (คือ
ในอุปจารฌาน) เปรียบดังแสงสว่างแห่งคบเพลิง การที่เมื่อแสงสว่าง
หายไป เพราะเหตุที่เมื่อพระโยคาวจรดูรูปอยู่ วาระแห่งบริกรรมล่วง
ไปเสีย ก็ไม่เห็นรูปทั้งหลาย เปรียบดังเมื่อคบเพลิงมอดเสียแล้ว (บุรุษ
นั้น) ก็ไม่เห็นที่เรียบที่ไม่เรียบฉะนั้น การเข้า (ปาทุกฌาน) บ่อย ๆ
เปรียบดังเขี่ยคบเพลิง (ร่ำไป) การที่เมื่อพระโยควจรทำบริกรรม
อีก แสงสว่างที่แรงกล้ากว่าเก่าแผ่ (ขยาย) ไป เปรียบดังการที่คบเพลิง
(ถูกเขี่ยให้โพลงแล้ว) ทำแสงสว่างมากกว่าแสงสว่างครั้งก่อน การที่
แสงสว่างอันแรงกล้าคงอยู่ตามที่ ๆ กำหนดไว้ เปรียบดังการที่ตะวันขึ้น
การที่พระโยคาวจรทิ้งแสงสว่างอันน้อยเสียแล้ว เห็นรูปได้ทั้งวัน ด้วย
แสงสว่างที่แรงกล้า เปรียบดังการที่ (บุรุษนั้น) ทิ้งคบเพลิงหญ้าแล้ว
(เดิน) ไปได้ตลอดวัน (ด้วยแสงตะวัน) ฉะนั้น
[เมื่อทิพยจักษุเกิด]
ในการเห็นรูปนั้น เมื่อใด รูปนี้ คือรูปที่อยู่ในท้องและรูปที่อาศัย
อยู่ในหทัยวัตถุ รูปที่อาศัยอยู่ใต้พื้นดิน รูปที่อยู่นอกฝา นอกภูเขา
นอกกำแพง และรูปที่อยู่ในจักรวาฬอื่น อันไม่มาสู่คลองมังสจักษุของ
ภิกษุนั้น (คือภิกษุนั้นมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ) มาสู่คลองแห่งญาณจักษุ
(ของเธอ) เป็นราวกะว่าปรากฏแก่มังสจักษุ เมื่อนั้นพึงทราบว่า
ทิพยจักษุเป็นอันเกิดขึ้นแล้ว และในบรรดาจิตที่ปรารภรูปนี้ ทิพยจักษุ
เท่านั้นสามารถในการเห็นรูป บุพพภาคจิตทั้งหลายมาหามารถไม่
๑. หมายความว่า ภิกษุอยู่ภายในอาคาร ภายในถ้า ภายในกำแพง
๒. บุพภาคจิต มหาฎีกาว่า ได้แก่อาวัชนจิต และบริกรรมจิต แม้จะทำรูปให้เป็นอารมณ์
แต่ก็ไม่อาจทำรูปให้แจ้งชัดอย่างของจริงได้