ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 159
โลกนั้นด้วย ถ้าเธอผู้มีฤทธิ์นั้นแสดงกิริยายืนด้วยกัน แสดงกิริยา
ปราศรัยกัน แสดงกิริยาสนทนา (ธรรม) กันกับพรหมนั้น” ภิกษุ
นิรมิตก็ยืนด้วยกัน ปราศรัยกัน สนทนา (ธรรม) กันกับพรหมนั้น
ในพรหมโลกนั้นด้วย ตกว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั้นทำกิจใด ๆ ภิกษุ
นิรมิตก็ทำกิจนั้น ๆ ด้วยทั้งนั้นแหละ"
[อธิบายความแห่งบาลีและเรื่องนิทัศนะ
ในปาฐะเหล่านั้น ปาฐะว่า "ทูเรปิ สนฺติเก อธิฏฺฐาติ
อธิษฐานที่ ๆ อยู่ไกลให้เป็นที่ ๆ อยู่ใกล้ก็ได้" นั้นความว่า ภิกษุ
ผู้มีฤทธิ์นั้นออกจากฌานอันเป็นบาทแล้ว อาวัชนาการถึงเทวโลกหรือ
พรหมโลกก็ตาม (อันอยู่) ในที่ไกลว่า "จงมาอยู่ในที่ใกล้" ครั้น
อาวัชนาการแล้วทำบริกรรมไป เข้าฌานอีกแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
"(เทวโลกหรือพรหมโลกนั้น) จงมาอยู่ในที่ใกล้" มันก็มาอยู่ในที่
ใกล้ นัยนี้พึงทราบแม้ในบทที่เหลือ
[ทำที่ไกลให้ใกล้]
ถามว่า "ในปาฏิหาริย์เหล่านั้น ใครจับเอาที่ไกล (มา) ทำ
ให้เป็นที่ใกล้ ? "
๑. ถ้าแปลไปเท่าตัวศัพท์ ก็มีปัญหาว่าภิกษุนั้นอยู่ในมนุษยโลกนี้จะยืนด้วยกัน ปราศรัย
กัน สนทนากันกับพรหมนั้นอย่างไรกัน ในที่นี้จึงเติมคำ "แสดงกิริยา " ไว้ เพื่อให้
ได้กับความจริง.
๒. ขุ. ป. ๑๑/๕๕๔.