ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ -
- หน้าที่ 166
จิตนั่นเอง" แต่เมื่อเกิดปัญหาขึ้นว่า "ผู้มีฤทธิ์นี้เมื่อไปด้วยอทิสสมาน-
กายอย่างนั้น ไปในอุปปาทขณะแห่งอธิฏฐานจิตนั้นหรือ หรือว่าใน
ฐิติขณะหรือในภังคขณะ (แห่งอธิฏฐานจิต) ?" พระเถระก็กล่าวว่า
"ไปได้ทั้ง ๓ ขณะ"" เมื่อถามอีกว่า "ก็ผู้มีฤทธิ์นั้นไปด้วยตนเอง
หรือ หรือว่าส่งรูปนิรมิตไป ?" ท่านก็ตอบว่า "ทำได้ตามชอบใจ"
แต่ (ที่จริง) การไปด้วยตนเองแห่งผู้มีฤทธิ์นั้นนั่นแหละมาในปาฐะ
(ที่กล่าวถึงปาฏิหาริย์ไปพรหมโลก) นี้ " คำว่า "มโนมัย" คือ
รูปนั้นชื่อว่ามโนมัย เพราะเป็นรูปที่ผู้มีฤทธิ์นิรมิตขึ้นด้วยใจอธิษฐาน
คำว่า "มีอินทรีย์ไม่พร่อง" นี้ ท่านกล่าวโดยความตั้งอยู่พร้อมแห่ง
องคาพยพมีตาหูเป็นต้น แต่ว่าประสาทในรูปนิรมิต ส่วน
ปวงมีคำว่า "ถ้าภิกษุผู้มีฤทธิ์จงกรม ภิกษุนิรมิตหามีไม่ คำทั้ง
โลกนั้นด้วย" เป็นต้น ท่านกล่าวหมายถึงพระสาวกนิรมิต ส่วน
พระพุทธนิรมิต พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำกิจใด ๆ
ด้วย ย่อมทำกิริยาอื่นอีก ตามพอพระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วย แล
ก็ย่อมทำกิจนั้น
ก็แล ในปาฏิหาริย์ (ใช้อำนาจด้วยกาย) นี้ กิริยาที่ผู้มีฤทธิ์
นั้นสถิตอยู่ในมนุษยโลกนี้นี่แหละ เห็นรูป (พรหม) ได้ด้วยทิพจักษุ
ได้ยินเสียง (พรหม) ได้ด้วยทิพโสตธาตุ รู้จิต (ของพรหม) ได้
๑. หมายความว่า ไปด้วยอทิสสมานกาย ก็คือไปแต่จิต กายไม่ได้ไป (?)
๒. มหาฎีกาว่าหมายถึงพระเถระชั้นอรรถกถาจารย์องค์หนึ่ง
๓. มหาฎีกาว่าหมายถึงขณะเริ่มไป
ๆ
๔. ที่ว่าไปเอง ก็เพราะกล่าวว่า "ไปพรหมโลก" หาได้กล่าวว่าส่งรูปอะไรไปไม่