วิสุทธิมรรค แปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 72
หน้าที่ 72 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงธาตุทั้ง ๔ และบทบาทของมหาภูต ๓ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการช่วยยึดและรักษาของธาตุต่างๆ โดยไม่มีความคิดคำนึงว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของธาตุ แสดงถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างธาตุเพื่อทำให้ร่างกายคงอยู่ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอธิบายในลักษณะที่ท่านได้กล่าวถึงในอรรถกถาอภิธรรมและมหาฎีกาเป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงการทำงานร่วมกันของธาตุต่างๆ

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของธาตุในวิสุทธิมรรค
-อธิบายมหาภูต ๓
-ปัจจัยของธาตุ
-การไม่มีความคิดคำนึงในธาตุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - แหละ) เป็นปัจจัย โดยเป็นที่ตั้งแห่งมหาภูต ๓ (นั้น) - หน้าที่ 72 อาโปธาตุ อันตั้งอยู่ในปฐวีธาตุ เตโชธาตุช่วยรักษาไว้ วาโย ธาตุช่วยพะยุงไว้ (นั่นแหละ) เป็นปัจจัย โดยเป็นเครื่องยึดให้ติดกัน แห่งมหาภูต ๓ (นั้น) က เตโชธาตุ อันตั้งอยู่ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุช่วยยึดไว้ วาโยธาตุ ช่วยพะยุงไว้ (นั่นแหละ) เป็นปัจจัย โดยเป็นเครื่องทำให้อุ่นแห่ง มหาภูต ๓ (นั้น) วาโยธาตุ อันตั้งอยู่ในปฐวีธาตุ อาโปธาตุช่วยยึดไว้ เตโชธาตุ ช่วยทำให้อุ่นไว้ (นั่นแหละ) เป็นปัจจัย โดยเป็นเครื่องพะยุงไว้แห่ง มหาภูต ๓ (นัน) [ความไม่มีความคิดคำนึง ข้อว่า "โดยไม่มีความคิดคำนึง" นั้นความว่า ก็แลในธาตุ ๔ นั้น ปฐวีธาตุหารู้ว่า "เราเป็นปฐวีธาตุ" หรือว่า "เราเป็นที่ตั้งแห่ง มหาภูต ๓ - จึงเป็นปัจจัย (ของมหาภูต ๓ นั้น)" ดังนี้ไม่ แม้มหาภูต * ... ปติฏฐา หุตวา ปจฺจโย โหติ เอา หุตวา เป็น ภาเวน ตามนัยอรรถกถาอภิธรรม ที่แก้บท เหตุปจฺจโย คือท่านแยกเป็น เหตุ หุตวา ปจฺจโย แล้วก็ไขเป็น เหตุภาเวน ปจฺจโย - ธรรมเป็นเหตุจึงเป็นปัจจัย อธิบายว่า ธรรมนั้นเป็นปัจจัยโดยความเป็นเหตุ แม้ในมหาฎีกาก็แก้ไปทำนองนี้ คือแก้ว่า ปติฏฐา หุตวา ตโต เอว ...อวสุสโย โหติ ในตอนต่อไปก็พึงทราบตามนัยนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More