วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 33 วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 33
หน้าที่ 33 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้าที่ 33 ของวิสุทธิมรรคแปลนี้นำเสนอการเปรียบเทียบระหว่างเล็บ ฟัน และเสา เพื่อแสดงให้เห็นถึงความไม่รู้ของสิ่งที่เกิดขึ้นในร่างกาย กลไกการทำงานของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้โดยไม่มีสำนึกถึงกันและกัน ทั้งนี้ จากแนวคิดเรื่องอัพยกฤต อันเป็นสิ่งที่ว่างเปล่าและปราศจากอัตตา สรุปได้ว่า ธรรมเหล่านี้ไม่มีความคิดหรือความรู้สึกถึงตัวตนที่แท้จริงของพวกมัน.

หัวข้อประเด็น

-ธรรมและร่างกาย
-การเปรียบเทียบ
-แนวคิดเกี่ยวกับอัตตา
-ความเข้าใจในธรรม
-โครงสร้างและหน้าที่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 33 นั้น นิ้วทั้งหลายหารู้ไม่ว่าเล็บเกิดที่ปลายของเรา เล็บทั้งหลายเล่าก็ หารู้ไม่ว่าเราเกิดอยู่ที่ปลายนิ้วทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อเด็กทั้งหลาย ใช้ไม้หลายอันเสียบเม็ดมะซางเล่นอยู่ ไม้ทั้งหลายหารู้ไม่ว่าเม็ดมะซาง ติดอยู่ที่เรา เม็ดมะซางเล่าก็หารู้ไม่ว่าเราติดอยู่ที่ไม้ทั้งหลาย ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั้น ปราศจากความคิดคำนึงและไตร่ตรอง ถึงกันและกัน อันเล็บทั้งหลายเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า (จากอัตตา) หาสัตว์ (คือ วิญญาณ) มิได้ เป็นของแข้นแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ ทนฺตา - ฟันทั้งหลาย ว่า "ฟันทั้งหลายเกิดที่กระดูกคาง ในกระดูกคางกับฟัน ทั้งหลายนั้น กระดูกคางหารู้ไม่ว่าฟันทั้งหลา งหลายเกิดอยู่ที่เรา ฟันทั้งหลาย เล่าก็หารู้ไม่ว่าเราเกิดอยู่กระดูกคาง เปรียบเหมือนในเสา (เรือน) ที่ช่างไม่ทั้งหลายพัน (โคน) ด้วยยางเหนียวลางชนิดแล้ว (ยก) ตั้งลงในหลุมหินทั้งหลาย · หลุมทั้งหลายหารู้ไม่ว่าเสาทั้งหลายตั้งอยู่ใน * ปาสาณอุทุกฺขลเกสุ อุทุกฺขล ตามปกติแปลว่าครก แต่ว่าโดยความ หมายถึง รูหรือหลุมที่เจาะขุดลงไปอย่างครก เพื่อรับสิ่งที่จะตั้งหรือสอดลงไปอย่างสาก เช่นรูที่ ธรณีประตูสำหรับเดือยบางประตู เราก็เรียกว่าครก บาลีก็เรียก อุทุกฺขล เหมือนกัน เพราะฉะนั้น อุทุกขลิกา จึงแปลว่า ธรณีประตู ว่าหลุม ในทนนํามาใช้กันเสาเรือน จะคงแปลว่าครกไม่ได้กับสมมติในภาษาไทย จึงแปล ส่วนมหาฎีกาว่า หินที่เขาวางรองโคนเสาเรือน (แทนเข็ม ?) นั่นแหละ ปาสาณอุทกุบลก.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More