ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 98
ความในอนังคณสูตร และวัตถุสูตรเถิด" ชื่อว่า เป็นจิตอ่อน เพราะ
ถึงความเป็นวสี ชื่อว่า ควรแก่การ เพราะเข้าถึงความเป็นบาทแห่งอิทธิ
ชื่อว่า ตั้งอยู่ ถึงความไม่หวั่นไหว หมายความว่า ตั้งอยู่อย่างที่เป็นสิ่ง
ถึงความไม่หวั่นไหว" เพราะเข้าถึงความเป็นจิตประณีต ด้วยความ
เต็มเปี่ยมแห่งภาวนา
จิตประกอบด้วยองค์ ๘ แม้โดยนัยนี้ ก็เป็นจิตควรแก่การนำมุ่งไป
คือเป็นบาท เป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้) เพื่อทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่ง
ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมทั้งหลาย แล
[วินิจฉัยศัพท์ อิทธิ - ฤทธิ์]
พึงทราบวินิจฉันในบาลีว่า "นำจิตมุ่งไป น้อมจิตมุ่งไป เพื่อ
การแสดงฤทธิ์" นี้ (ต่อไป)
สิ่งที่ชื่อว่า ฤทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ มีอธิบายว่า เพราะอรรถ
ว่า เกิดผล และเพราะอรรถว่า ได้เฉพาะ ด้วยว่าสิ่งใดเกิดผล และ
บุคคลได้เฉพาะซึ่งสิ่งใด สิ่งนั้น ก็เรียกได้ว่า สำเร็จ ดังพระบาลี
(กามสูตร) ว่า
"กาม กามยมานสฺส ตสฺส เจ ต์ สมิชุติ
เมื่อบุคคลปรารถนา (วัตถุ) กามอยู่ หากว่าสิ่งที่ปรารถนานั้น
สำเร็จแก่เขา (คือเขาได้ดังปรารถนา) ไซร้" ดังนี้ นัยเดียวกัน บาลี
สูตรทั้งสองนี้อยู่ในมัชฌิมนิกาย
ด.
๒. ท่านแก้เช่นนี้ หมายความว่า อาเนญชปุปตฺต เป็นวิเสสนะของ ฐิต
๓. ข. ส. ๒๕/๔๘๔ ปาฐะในฉบับวิสุทธิมรรคพิมพ์ไว้เป็น เจต์ ผิด ที่ถูกเป็น เจต