ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 176
[วิธีทำเจโตปริยญาณ]
ปุจฉาว่า "ก็ญาณนี้ พระโยคาวจรภิกษุจะพึงให้เกิดขึ้นได้
อย่างไร ? วิสัชนาว่า เพราะว่าญาณนี้ย่อมสำเร็จด้วยอำนาจทิพพจักขุ
(ญาณ) ทิพพจักขุญาณนั้นจึง (เท่ากับ) เป็นบริกรรมแห่งญาณนี้นั่น
เอง เพราะเหตุนั้น ภิกษุ (ผู้ได้ทิพพจักขุญาณแล้ว ใคร่จะทำเจโต
ปริยญาณนี้ให้เกิดขึ้น) นั้น พึงเจริญอาโลกกสิณสอบสวนดูจิต (โดย)
ดูสีของโลหิตที่อาศัยหทัยรูปของคนอื่นเป็นไปอยู่ด้วยทิพยจักษุ ก็โส
มนัสจิตเป็นไปในกาลใด ในกาลนั้น โลหิตก็สีดำ เช่นกับผลไทรสุก
โทมนัสจิตเป็นไปในกาลใด ในกาลนั้น โลหิตก็สีดำ เช่นกับผลหว้า
สุก อุเบกขาจิตเป็นไปในกาลใด ในกาลนั้น โลหิตก็ใส เช่นกับ
น้ำมันงา" เพราะฉะนั้น เธอผู้สอบสวน (จิต) อยู่ (โดย) ดูสีของ
โลหิตในหทัยของคนอื่นว่า "รูปนี้มีโสมนัสสินทรีย์เป็นสมุฏฐาน รูป
นี้มีโทมนัสสินทรีย์เป็นสมุฏฐาน รูปนี้มีอุเปกขินทรีย์เป็นสมุฏฐาน"
จะพึงทำเจโตปริยญาณให้ถึงความแรงกล้าได้ ด้วยว่าเมื่อเจโตปริย
ญาณนั้น ถึงความแรงกล้าอย่างนั้นแล้ว เธอย่อยรู้ซึ่งกามาวจรจิต
และรูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต ทั้งหมดได้โดยลำดับ ก้าวจากจิตสู่จิต
ได้ทีเดียว แม้เว้นจากการดูหทัยรูปเสียก็ดี จริงอยู่ แม้ในอรรถกา
๑. ถ้าโลหิตถึงใสดังน้ำมันงาแล้ว จะอยู่ได้อย่างไร เพียงแต่โลหิตจาง ก็ต้องเยียวยา
กันเป็นการใหญ่แล้ว
๒. ปาฐะในวิสุทธิมรรคพิมพ์ไว้เป็น ถามคเตหิ นั้นพิรุธ ที่ถูกเป็น ถามคเต หิ
คือ ไม่ต้องไปหัดดูสีเลือดในหัวใจใครอีก