ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 239
คนอื่นเจริญแล้ว และถึงผลที่ตนหรือคนอื่นทำให้แจ้งแล้วในอดีตกาล
ก็เป็นอัปปมาณารมณ์ ในการที่ระลึกถึงมรรคที่ตนหรือคนอื่นเจริญ
แล้วอย่างเดียว ก็เป็นมัคคารมณ์
แต่โดยแน่นอนแล้ว ปุพเพนิวาสญาณนั้นเป็นอดีตารมณ์แท้
(ต่อไป) นี้เป็นนัยแห่งอรรถกถาในเรื่องอตตารมณญาณนั่นว่า "บัณฑิต
พึงทราบความแปลกกัน (ดัง) นี้คือ ในญาณทั้งหลายนั้น แม้เจโต
ปริยญาณและยถากัมมูปคญาณ ก็เป็นอดีตารมณ์ ก็จริงแล แต่ทว่า
ญาณทั้งสองนั้น เจโตปริยญาณมีจิตที่เป็นอดีตภายใน (ระยะ) ๗ วัน
เท่านั้นเป็นอารมณ์ เพราะเจโตปริยญาณนั้นหารู้ขันธ์หรือสิ่งที่เนื่องด้วย
ขันธ์อื่นไปไม่ แต่ท่านกล่าวว่าเป็นมัคคารมณ์โดยปริยาย ก็เพราะมีจิต
ที่สัมปยุตด้วยมรรคเป็นอารมณ์ ยถากัมมูปคญาณเล่า ก็มีแต่เจตนา
ที่เป็นอดีตเท่านั้นเป็นอารมณ์ แต่ขันธ์ทั้งหลายและสิ่งอะไร ๆ ที่เนื่อง
ด้วยขันธ์ที่เป็นอดีต จะชื่อว่ามิได้เป็นอารมณ์แห่งปุพเพนิวาสญาณ
หามีไม่ ด้วยว่าปุพเพนิวาสญาณนั้นเป็นญาณมีคติเสมอด้วยสัพัญญุต
ญาณในธรรมทั้งหลาย คือขันธ์และสิ่งอันเนื่องด้วยขันธ์ที่เป็นอดีต"
อนึ่ง เพราะเหตุที่ในคัมภีร์ปัฏฐานกล่าวไว้ว่า "ขันธ์ทั้งหลานที่
เป็นกุศลเป็นปัจจัยโดยเป็นอารัมมณปัจจัยแห่งอิทธิวิธญาณ เจโตปริย
ญาณ ปุพเพนิวาสนุสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตตังสญาณ"
ดังนี้ เพราะเหตุนั้น แม้ขันธ์ 4 ก็เป็นอารมณ์แห่ง เจโตปริยญาณและ
๑. มหาฎีกาว่า สิ่งที่เนื่องด้วยขันธ์ คือ ชื่อ และโคตรเป็นต้น
๒. อภิ. ป. ๔๐/๑๕๖