วิสุทธิมรรค: แปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 214
หน้าที่ 214 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการแปลหนังสือวิสุทธิมรรค ภาค ๒ ตอน ๒ ที่พูดถึงการเกิดและการอุปบัติของสัตว์ รวมถึงการเปรียบเทียบนิยามของคำต่างๆ เช่น 'หีเน - เลว', 'ปณีเต - ประณีต', 'สุวณฺณ - ผิวพรรณงาม', 'ทุพฺพณฺเณ - มีผิวพรรณทราม', 'สุคต - ได้ดี', และ 'ทุคฺคเต - ตกยาก' ซึ่งอธิบายถึงคุณลักษณะและสถานะต่างๆ ในบริบทของการดำรงอยู่และการเกิดใหม่ในหลักพระพุทธศาสนา โดยความสำคัญของคำศัพท์เหล่านี้สัมพันธ์กับผลแห่งอารมณ์ที่หลากหลาย เช่น โมหะ อโมหะ อโลภะ และโทสะ สื่อถึงสภาพทางจิตใจที่มีผลต่อการเกิดและชะตาชีวิตของบุคคลตามหลักของพระพุทธศาสนา อ้างอิงจากเอกสารต้นฉบับโดยตรง

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดในวิสุทธิมรรค
-พระพุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน
-การแปลและความหมายของคำในพระสูตร
-ลักษณะสัตว์และผลจากอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 214 เกิดเดี๋ยวนี้ละ สัตว์เหล่านั้น ทรงประสงค์เอาว่ากำลังอุปบัติ ด้วย บททั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความว่า "ภิกษุนั้นย่อม เห็นสองทั้งหลายที่กำลังจุติ และกำลังอุปบัติอย่าง (ที่ทรงประสงค์เอา) นั้น" คำว่า "หีเน - เลว" คือที่เขาเหยียดหยามดูหมิ่นถิ่นแคลน ด้วย อำนาจแห่งฐานะมีชาติตระกูล และโภคะเป็นต้น ที่นับว่าเลว เพราะ ประกอบด้วยผลแห่งโมหะ คำว่า "ปณีเต - ประณีต" คือที่ตรงกัน ข้ามกับเลว เพราะประกอบด้วยผลแห่งอโมหะ คำว่า "สุวณฺณ - ผิวพรรณงาม" คือประกอบด้วยผลแห่งอโทสะ คำว่า "ทุพฺพณฺเณ - มีผิวพรรณทราม" คือกอบด้วยผิวพรรณ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าชอบใจ เพราะประกอบด้วยผลแห่งโทสะ หมายความว่ามีรูป ไม่งาม มีรูปน่าเกลียด" คำว่า "สุคต - ได้ดี "คือสุคติ หรือ เป็นผู้มั่งมีทรัพย์มาก เพราะประกอบด้วยผลแห่งอโลภะ คำว่า ทุคฺคเต -ตกยาก" คือถึงทุคติ หรือขัดสนอัตคัดข้าวน้ำ เพราะ ๑. สมฺปติ นิพฺพตฺตา จ เข้าใจว่าคลาดเคลื่อน ที่ถุงจะเป็น... นิพฺพตฺาติ (ไม่ใช่ จ) เพราะประโยคทั้งสอง (แก้จวมานาประโยคหนึ่ง แก้อุปปชชมานาประโยคหนึ่ง ) ต้อง เสมอกัน ประโยคหน้า เย อาสนุนจอต่อการ อิทานิ จวิสสนฺตีติ เต จวมานา นี้เรียบร้อย เป็นตัวอย่างอยู่ ประโยคหลังก็ควรเป็นรูปเดียวกัน คือ เย จ คณิตปฏิสนธิกา สมบัติ นิพฺพตฺตาติ เต อุปปชุชมานา ในที่นี้แปลตามที่เห็นว่าถูก ๒. เต นี้ก็เข้าใจว่าพิรุธ ที่ถูกจะเป็น เตน ตามรูปประโยค ในที่นี้แปลตามที่เข้าใจ ว่าถูก ๓. แปลตามฉบับหม่าที่เป็นอนุภิรูเป วิรูเป ซึ่งน่าจะถูกว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More