ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 147
ฝ่ายพระเถระ (ติปิฎกจุฬาภัย) กล่าว (ท้วง) ว่า "อาวุโส
การเข้าสมาบัติ (อีก) มีประโยชน์อะไร จิตของผู้มีฤทธิ์นั้นก็เป็น
สมาธิอยู่แล้ว เธอใช้จิตนั้นอธิษฐานที่ใด ๆ ว่าจะเป็นอากาศ ที่นั้น ๆ
มันก็เป็นอากาศได้อยู่แล้ว มิใช่หรือ" ท่านกล่าวอย่างนั้นก็จริงอยู่
ถึงกระนั้นก็ควรปฏิบัติตามนัยที่กล่าวมาในติโรกุฑฑปาฏิหาริย์นั่นเอง
อีกประการหนึ่ง แม้เพื่อจะลงในที่ ๆ เป็นโอกาส (คือที่เหมาะ)
ภิกษุนี้ก็ต้องเป็นผู้ได้ทิพจักษุด้วย เพราะถ้าเธอลงในที่ไม่เป็นโอกาส
(คือไม่เหมาะ) เป็นท่านอาบน้ำก็ดี เป็นประตูหมู่บ้านก็ดี เธอก็จะ
เป็นผู้ปรากฏแก่มหาชน เพราะเหตุนั้น เธอเห็น (โอกาส) ด้วย
ทิพจักษุแล้ว ก็เว้นที่อันไม่เป็นโอกาส ลงในที่เป็นโอกาสได้แล
[จันทิมสูริยปรามสนปาฏิหาริย์ - จับต้องลูบคลำจันทร์สูรย์ได้
ในปาฏิหาริย์ข้อว่า "อิเมปิ จนฺทิมสูริเย เอว์มหิทธิเก เอว-
มหานุภาเว ปาณินา ปรามสติ ปริมชฺชติ - จับต้องลูบคลำจันทร์และ
สูรย์นี้ อันมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ด้วยฝ่ามือ
ก็ได้" นี้ มีพรรณนาว่า ความมีฤทธิ์มาแห่งจันทร์และสูรย์พึงทราบ
โดยการที่จรไปได้เหนือปฐพีอันมีปริมาณถึง ๔๒,๐๐๐ โยชน์ (ส่วน)
ความมีอานุภาพมาก พึงทราบโดยการที่ทำความสว่างใน ๓ ทวีปได้
มหาฎีกาช่างคิด ว่าปริมาณนี้คำนวณไว้แต่ครั้งปฐมกัป เดี๋ยวนี้น่าจะเปลี่ยนแปลง
*
ไปแล้ว.