วิสุทธิมรรค: กัปและการพินาศ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 204
หน้าที่ 204 / 244

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้กล่าวถึงความเข้าใจเกี่ยวกับอสงไขยในอาโปสังวัฏฏะที่แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา โดยระบุถึงการเกิดของมหาเมฆและน้ำกรดรวมถึงภาวะต่าง ๆ ขององค์ประกอบในจักรวาล นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวาโยสังวัฏฏะที่อธิบายถึงการเกิดของลมและการพินาศ พื้นฐานแนวคิดสำคัญเกี่ยวกับพุทธเกษตรและการเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติ และการฝึกฝนของบัณฑิตเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง โดยจะมีการเชื่อมโยงระหว่างการพินาศที่เกิดจากลมและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เปรียบเทียบกับการเกิดและพินาศในระดับมหภาค.

หัวข้อประเด็น

-การเกิดในอาโปสังวัฏฏะ
-การพินาศในวาโยสังวัฏฏะ
-ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดและพินาศ
-การศึกษาและบรรลุธรรมของบัณฑิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 204 [กำหนดระยะกาลแห่งอสงไขยกัปในอาโปสังวัฏฏะ] ในกัป ๔ นั้น (ระยะกาล) แต่ (เกิด) มหาเมฆล้างกันไปจนถึง น้ำกรดล้างกับขาด (หายไป) นี่เป็นอสงไขยหนึ่ง แต่น้ำ (กรด) ขาด (หายไป) จนถึง (เกิด) มหาเมฆก่อเกิด (โลก) นี่เป็นอสงไขยที่ ๒ แต่ (เกิด) มหาเมฆก่อเกิดไปจนถึงความเกิดปรากฏขึ้นแห่งจันทร์และ สูรย์ นี่เป็นอสงไขยที่ ๓ แต่ความเกิดปรากฏขึ้นแห่งจันทรและสูรย์ไป จงถึง (เกิด) มหาเมฆล้างกับอีก นี่เป็นอสงไขยที่ 4 (รวม) 4 อสงไขยนี้ เป็นมหากัป ๑ ความพินาศด้วยน้ำ และความตั้งขึ้นใหม่ (แห่งพุทธเกษตร) บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ [วาโยสังวัฏฏะ] ในสมัยที่กัปพินาศด้วยลม (คำพรรณนาทั้งปวง) บัณฑิตพึง (กล่าว) ให้พิสดารตามนัยที่กล่าวในตอนแรก (คือตอนเตโชสังวัฏฏะ) ว่า "แรกทีเดียว มหาเมฆล้างกัปตั้งขึ้น" ดังนี้เป็นต้นนั่นเถิด แต่ ความ (ต่อไป) นี้เป็นความแปลกกัน ลมตั้งขึ้นเพื่อทำลายกัปในวาโย- สังวัฏฏะนี้ เปรียบได้กับสูรย์ดวงที่ ๒ ในเตโชสังวัฏฏะนั้น ลมนั้น แรกก็หอบเอาฝุ่นหยาบขึ้นไป ต่อนั้น ก็หอบเอาฝุ่นละเอียด (ที่ติดดิน) ...ทรายละเอียด ...ทราบหยาบ...สิ่งที่เขื่องขึ้น สิ่งที่เขื่องขึ้นไปมีหินกรวดเป็นต้น ดังนี้ไปจนหินก้อนขนาดเรือนยอด และต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้นอยู่ในที่โคก ขึ้นไป สิ่งเกล่านั้นขึ้นจากดินไปสู่ท้องฟ้า และไม่ตกลงมาอีก มันเหล็ก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More