ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 86
สตฺตานํ จุตูปปาตญาณ
ความรู้ในเรื่องตายไปและได้
กำเนิดขึ้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยนัยว่า "ภิกษุนั้น ครั้นเมื่อจิตตั้งมั่น
บริสุทธิ์สะอาด ไม่มีอังคณะ (ความคิดไปตามอำนาจความปรารถนา ?)
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนควรแก่การ ตั้งอยู่ ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว นำจิตมุ่งไป น้อมจิตมุ่งไปเพื่อฤทธิ์ชนิดหนึ่ง เธอก็บรรลุ
ชนิดแห่งฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ เป็นคนเดียว (อธิษฐาน) เป็นหลายคน
ก็ได้" ดังนี้เป็นต้น เพื่อทรงแสดงอานิสงส์แห่งการเจริญสมาธิ และ
เพื่อแสดงธรรมอันประณีต ๆ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แก่กุลบุตรทั้งหลายผู้ได้บรรลุ
สมาธิในจตุตฌานแล้ว
(จิตตปริทมนวิธี - วิธีฝึกฝนจิต
ในโลกิยอภิญญา ๕ นั้น พระโยคีผู้เป็นอาทิกัมมิกะ (แรกทำ)
ใคร่จะทำอิทธิวิกุพพนะ (การทำฤทธิ์ต่าง ๆ ) มีฤทธิ์คือ เป็นคนเดียว
(อธิษฐาน) เป็นหลายคนก็ได้ เป็นต้น * จึงยังสมาบัติ ๘ ๆ ในกสิณ ๔
๑. ที. ส. ๘/๑๐๓
๒. วิภพพนะ ที่ตรงนี้เข้าใจว่าท่านใช้แทน วิธะ นั่นเอง ศัพท์ วิกุพฺพนะ ถ้าใช้เป็น
วิเสสนะ เรียงไว้หน้า อิทธิ เปลี่ยนรูปเป็นอิตถีลิงค์ คือเป็น วิกุพฺพนา เป็นชื่อฤทธิ์อย่าง
หนึ่ง เรียกว่า วิกุพฺพานอิทธิ หมายถึงบิดเบือนร่างกายได้ต่าง ๆ ส่วน เอโกปี หุตวา
พหุธา โหติ - เป็นคนเดียว (อธิษฐาน) เป็นคนมากก็ได้ นั้นเป็น อธิฏฐานาอิทธิ
หมายถึงสำเร็จ ได้ด้วยแรงอธิษฐาน