ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 90
|
เข้าปฐมฌานนั่นแหละอีก ในเตโชกสิณ ต่อนั้น ในนีลกสิณ แล้วต่อนั้น
ในโลหิตกสิณ... ดังนี้ ชื่อว่า กสิณุกกันตกะ (ข้ามกสิณ)
[เข้าข้ามทั้งฌานทั้งกสิณ]
การ (เข้า) ข้ามทั้งฌานทั้งกสิณ โดยนัยนี้ คือ เข้าปฐมฌาน
ในปฐวีกสิณแล้ว ต่อนั้น (เข้า) ตติยฌานในเตโชกสิณ เลิกนีลกสิณ
แล้ว (เข้า) อากาสานัญจาตนะ (เข้า) อากิญจัญญายตนะ แต่
โลหิตกสิณ" ดังนี้ ชื่อว่า ฌานกสิรุกกันตกะ (ข้ามทั้งฌานทั้งกสิณ)
[เข้าเลื่อนองค์]
ส่วนว่าการเข้าปฐมฌานในปฐวีกสิณแล้ว เข้าฌานแม้นอกนี้
(คือ ทุติยะ ... จตุตถ...)” ในปฐวีกสิณนั้นเหมือนกัน ชื่อว่า
อังคสังกันติกะ (เลื่อนองค์)
๑. มหาฎีกาอธิบายว่า นึกหน่วงเอาโลหิตกสิณมาไว้เฉพาะหน้า เมื่อโลหิตกสิณเพิก
ปรากฏมีกสิณุคฆาฎิมากาส (อากาศตรงที่ดวงกสิณเพิก) ไม่ทำในใจกสิณุคฆาฎิ
มากาสนั้น เข้าอากาสานัญจายตนะฌานแล้ว ทำความปราศไปแห่งวิญญาณที่เป็นไปอยู่
ในอากาสานัญจายตนะนั้น ให้เป็นอารมณ์แล้วเข้าอากิญจัญญายตนะ
๒. มหาฎีกาว่า การที่ข้อนี้หมายเอาแต่รูปาวจรฌาน ก็เพราะในอรูปาวจรฌานหามีการ
เลื่อนองค์ไม่ ทั้งอรูปวจรฌานจะมาเป็นไปในปฐวีกสิณ ก็ไม่ได้ (เพราะกสิณเป็นรูป)
แต่ส่วนคำที่ว่า "เพิกนีลกสิณแล้วเข้าอากาสานัญจายตนะ" เป็นต้น ซึ่งกล่าวในตอน
"เลื่อนทั้งองค์ทั้งอารมณ์นั้น " ต่อไปนั้น จึงเห็นว่าเป็นคำกล่าวไปตามที่ได้ที่มี หรือว่า
กล่าวโดยอ้อมก็ได้ แต่โดยตรงนั้น การเลื่อนองค์ย่อมมีได้แต่ในรูปฌานเท่านั้น ฉันใด
การเลื่อนอารมณ์ก็มีได้แต่ในอรูปฌาน ฉันนั้น เพราะอารัมมณสังกันดี (การเลื่อนอารมณ์
ก็คือฌานนั้น ๆ ย้ายอารมณ์ไปนั่นเอง ท่านจึงว่า "เข้าแต่ฌานเดียวในทุกกสิณ.... ชื่อว่า
เลื่อนอารมณ์"