วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - การว่าร้ายพระอริยะ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 217
หน้าที่ 217 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการว่าร้ายพระอริยะในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการที่พระเถระและภิกษุหนุ่มว่าพระอริยะไม่เป็นสมณะ ซึ่งมีผลกระทบต่อความเข้าใจในสมณธรรม. เรื่องนี้อธิบายเกี่ยวกับการวินิจฉัยว่าผู้ที่ว่าร้ายนั้นมีความรู้หรือไม่รู้เกี่ยวกับความเป็นพระอริยะ การว่าร้ายนี้จัดอยู่ในอนันตริยกรรม แต่ยังสามารถมีการเยียวยาในบางกรณี

หัวข้อประเด็น

-การว่าร้ายพระอริยะ
-อนันตริยกรรม
-พระพุทธศาสนา
-สมณธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 217 ว่า เป็นผู้มุ่งความเสื่อมเสีย ว่าร้ายเอา อธิยาบว่าค่าเอง ติโทษเอา ซึ่งพระอริยะทั้งหลาย คือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธ และพระสาวก ทั้งหลาย โดยที่สุด แม้พระโสดาบันคฤหัสถ์ ด้วยอันติวัตถุก็ตาม ด้วยการลบล้างคุณก็ตาม ในอาการสองอย่างนั้น ผู้กล่าวว่า "สมณ ธรรมของบุคคลเหล่านี้ไม่มี บุคคลเหล่านั้นไม่เป็นสมณ" ดังนี้ จึง ทราบว่า "ว่าร้ายด้วยอันติมวัตถุ" ผู้กล่าวคำ (ไม่จริง) เป็นต้นว่า "ฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ของบุคคลเหล่านี้ไม่มี" ดังนี้ พึงทราบว่า "ว่าร้ายโดยมุ่งลบล้างคุณ" ก็แลบุคคล (ผู้ว่าร้าย) นั้น รู้อยู่ (ว่าท่านเป็นพระอริยะ) ยังว่าร้าย (ท่าน) ก็ตาม ไม่รู้ (ว่าท่าน เป็นพระอริยะ) ว่าร้ายท่านไปก็ตามก็คงเป็นอริยปวาททั้งสองสถาน เดียวกันอนันตริยกรรม แต่ยังเป็นสเตกิจฉา (พอเยียวยาได้) เพื่อ ให้อริยุปวาทกรรมนั้นชัดเจนขึ้น บัณฑิตพี่ทราบเรื่อง (ต่อไป) นี้ [เรื่องภิกษุหนุ่มว่าร้ายพระอริยะ เล่ากันว่า พระเถระรูปหนึ่ง และภิกษุหนุนรูปหนึ่ง ไปบิณฑบาต ๑. คำว่าอันติมวัตถุ เป็นโวหารทรงพระวินัย แปลว่า เรื่องอันถึงที่สุด คือเรื่องที่ทำให้ถึง ขาดจการความเป็นสมณะทีเดียว อันได้แก่ วัตถุปาราชิก ในกรณีอริยุปวาทนี้ ไปว่าพระ อริยะว่าทานไม่มีสมณธรรม ไม่เป็นสมณะ ก็เท่ากับว่าท่านเป็นปาราชิกเหมือนกัน ๒. มหาฎีกาว่า รู้หรือไม่รู้ไม่เป็นประมาณ ความเป็นพระอริยะเท่านั้นเป็นสำคัญ แต่ อาจารย์ลางพวกกล่าวว่า เมื่อไม่รู้ว่าท่านเป็นอริยะ สำหรับผู้ไม่มีจิตคิดร้ายต่อท่าน เป็นต่อพูดไปว่าท่านไม่มีอริยคุณ ก็ไม่เป็นการลบล้างคุณ เพราะฉะนั้น อริยุปวาทก็ ไม่มี (?) ๓. เป็นสเตกิจฉาด้วยการบอบมาได้ แต่อนันตริยกรรมเป็น อเตกิจฉา (เยียวยาไม่ได้ ด้วยประการทั้งปวง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More