ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 17
ได้แก่สันนิฐาน (ลงความเห็น) ตามที่ได้กำหนดเห็นสภาวะ (ของ
มัน) การวิเคราะห์ดูธาตุทั้ง ๔ ชื่อว่าจตุธาตุววัฏฐาน คำว่า
ธาตุมนสิการ (ความทำในใจโดยความเป็นธาตุ) ธาตุกรรมฐาน
(กรรมฐานมีธาตุเป็นอารมณ์) จตุธาตุววัฏฐาน (การวิเคราะห์ดู
ธาตุ ๔) โดยความก็อันเดียวกัน
(จตุธาตุวัฏฐาน ๒ อย่าง
จตุธาตุววัฏฐานนี้นั้น (มี) มา ๒ อย่าง คือ อย่างสังเขป ๑
อย่างพิสดาร ๑ จตุธาตุววัฏฐานอย่างสังเขปนั้นมาในมหาสติปัฏฐาน
สูตร อย่างพิสดารมาในมหาหัตถิปทุปมสูตร ราหุโลวาทสูตร และ
ธาตุวิงภังคสูตร
[จตุธาตุววัฏฐานอย่างสังเขป]
จริงอยู่ จตุธาตุววัฏฐานนั้น มาโดยสังเขปในมหาสติปัฏฐาน
สูตร โดยเป็นธรรมสำหรับผู้เจริญธาตุกรรมฐานที่มีปัญญากล้า ดังนี้ว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคฆาตก์ผู้ชำนาญ หรือลูกมือโคฆาตก์ ฆ่าโคด
แล้ว (ชำแหละ) แบ่ง (เนื้อ) ออกเป็นส่วน ๆ แล้วจึงนั่ง
(ขาย) อยู่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ ฉันใดก็ดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ก็ฉันนั้น พิจารณาดูกายนี้นี่แหละ ที่มันตั้งอยู่เท่าไร ที่เธอตั้งไว้เท่าไร ๒
๑. คาวี แปลว่า โค สามัญก็ได้ สำหรับในที่นี้ฟังสนิทกว่าที่จะแปลว่า แม่โค.
๒. ปณิหิต รูปเป็นกัมมวาจก สองบทนี้น่าจะเป็นดังนี้ ยถาจิต เมื่อพิจารณาดูกายนั้น
กายจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ได้ ภิกษุจะเดินอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่ หรือนอนอยู่ ก็เจริญธาตุ
มนสิการได้ ยถาปณิหิต ก่อนจะเจริญธาตุมนสิการ ภิกษุจัดแจงแต่งกายให้อยู่ในท่า
ที่ต้องการ เช่นนั่งขัดสมาธิ