วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - ญาณและการเกิดในภพ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 187
หน้าที่ 187 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับญาณที่จัดเป็นบริกรรมสมาธิญาณและความหมายของชาติในศาสตร์พระพุทธศาสนา อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิและอารมณ์เกิดขึ้นในภิกษุ การพัฒนาและการเข้าใจในสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงการมองเห็นในอดีตถึงความว่างเปล่า และสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างชาติที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งอุเทศและอาการจะมีผลต่อพฤติกรรมของภิกษุ คำอธิบายเกี่ยวกับชาติและความหมายที่เกี่ยวข้องในบริบทของพุทธธรรม โดยไม่สนใจแค่ในขณะปัจจุบัน แต่ยังรวมถึงการตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตอีกด้วย นำเสนอโดยไม่รวมแหล่งที่มา

หัวข้อประเด็น

-บริกรรมสมาธิญาณ
-อตีตังสญาณ
-มโนทวาราวัชนะ
-การปฏิสนธิ
-ชาติและกัป

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 187 ไม่ แต่ญาณนั้นจัดเป็นบริกรรมสมาธิญาณ (ญาณที่ประกอบกับ บริกรรมสมาธิ) อาจารย์พวกหนึ่งเรียกว่าอตีตังสญาณก็มี คำ (ของ อาจารย์พวกหนึ่ง) นั้นไม่ชอบ เพราะ (อตีตังสญาณ) หมายถึงรูปา วจร (ส่วนบริกรรมสมาธิญาณเป็นกามวจร) ต่อเมื่อใด มโนทวาราวัชนะก้าวล่วงปฏิสนธิ (ในภพนี้) เสีย ทำนามรูปอันเป็นไปในขณะจุติ (จากภพก่อน) ให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น แก่ภิกษุนั้น และครั้นมโนทวาราวัชนะนั้นดับไปแล้ว ชวนะ ๔ หรือ ๕ ดวง ทำนามรูปนั้นแหละให้เป็นอารมณ์แล่นไป ซึ่งชวนะควงต้น ๆ ที่มีชื่อว่าบริกรรมเป็นต้น เป็นกามาวจร ดวงสุดท้าย (คือดวงที่ 4 หรือที่ ๕) เป็นรูปางจรเป็นไปในจตุตถฌานเป็นอัปปนาจิต โดยนัย ที่กล่าวแล้วในก่อนนั่นแล เมื่อนั้น ญาณอันใดเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น พร้อมทั้งอาการ (เช่นผิวพรรณ) พร้อมทั้งอุเทศ (เช่นชื่อโคตร) ตลอดกาลดังนี้ คือชาติ ๑ ก็มี ๒ ชาติก็มี ฯลฯ ดังนี้ [ความหมายของคำว่า ชาติ และกัป] ในปาฐะเหล่านั้น คำว่า "ชาติ ๑ ก็มี" ได้แก่ขันธสันดาน อันหนึ่ง ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นต้น มีจุติเป็นปลาย เนื่องอยู่ในภพเดียวกัน * มหาฎีกาว่า ไม่ชื่ออปุพเพนิวาสญาณ เพราะปุพเพนิวาสญาณต้องมีนิวฏฐธรรมในอดีต ชาติเป็นอารมณ์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More