ความเป็นของใหญ่และจริงในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 69
หน้าที่ 69 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้พูดถึงความหมายของธาตุทั้งหลายว่ามีความเป็นใหญ่และเป็นของจริง อธิบายว่าธาตุเป็นสิ่งที่กำหนดได้ด้วยความพยายามอันยิ่งใหญ่ และเป็นที่ตั้งของทุกข์ในรูปแบบต่างๆ ธาตุจึงมีคุณสมบัติเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอนัตตา นอกจากนี้ยังพูดถึงการมองเห็นความแตกต่างและความเป็นอันเดียวกันของธาตุในทางพุทธศาสตร์อีกด้วย เนื้อหาเน้นให้ผู้อ่านได้เข้าใจคุณลักษณะของธาตุและผลกระทบต่อชีวิตของเราอย่างไร

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของธาตุ
- มหาภูต
- ความไม่เที่ยง
- การเป็นทุกข์
- อนัตตา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 69 [ความเป็นของใหญ่และจริงด้วย] ข้อว่า "เพราะเป็นของใหญ่ของจริงด้วย" นั้น ความว่า ก็ภูตคือธาตุทั้งหลายนั้น ชื่อว่าเป็นของใหญ่ เพราะเป็นสิ่งที่ จะพึงกำหนด (ให้เห็นตามสภาพ) ได้ด้วยความพยายามอันใหญ่ (เพราะ สภาวะเป็นสิ่งที่รู้ยาก) ชื่อว่าเป็นของจริง เพราะเป็นของมีอยู่ เพราะ เหตุนั้น จึงได้ชื่อว่ามหาภูต เหตุเป็นของใหญ่ และเหตุเป็นของจริง ด้วย ด ธาตุทั้งปวงนั้น ได้ชื่อว่ามหาภูต ด้วยเหตุหลายอย่าง มีความ เป็นสิ่งมีปรากฏการณ์ใหญ่เป็นอาทิ ดังกล่าวมาฉะนี้ แต่เพราะทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน ๑ เพร เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ‹ เพราะเป็นที่รองรับทุกข์ ๑ ธาตุทั้งปวงจึงได้ชื่อว่าธาตุ เหตุไม่ล่วง ลักษณะของธาตุ (ดังกล่าว) ไปได้ ชื่อว่ากรรม ก็เพราะทรงไว้ซึ่ง ลักษณะของตนนั่นเอง" และเพราะทรงอยู่ตามควรแก่ขณะของตน ด้วย ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะความหมายว่าสิ้นไป ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะ ความหมายว่าเป็นภัย ชื่อว่าอนัตตา เพราะความหมายว่าหาสาระมิได้ ธาตุทั้งปวงมีความเป็นอันเดียวกัน โดยที่เป็นรูป เป็นมหาภูต เป็น ธาตุ เป็นธรรม และเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น ดังนี้แล พระโยคาวจร พึงมนสิการโดยความต่างกันและความเป็นอันเดียวกัน ดังกล่าวมาฉะนี้ ๑. สลักขณธารเณน จ ในมหาฎีกาเป็น ... ธารเณเนว เห็นว่าปาฐะในมหาฎีกาเข้าทีกว่า จึงแปลตามนั้น. ๒. หมายถึงขณะเกิดดับของรูป (?)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More