ข้อความต้นฉบับในหน้า
-
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 139
โดยกาลกำหนดเท่านี้ " ดังนี้แล้วทรงหายพระองค์ ตรัสพระคาถานี้ว่า
(ภเววาห์ ภย์ ทิสฺวา
ภวํ นาภิวที กิญจิ
ภวญฺจ วิภเวสิน
นนฺทิญฺจ น อุปาทิย์)
เราเห็นภัยในภพ และ (เห็นตัว) ภพ (เอง) ที่ก่น
แต่จะวิภพ (คือเสื่อม) ไปนั่นเทียว จึงไม่อภิวัท (คือ
ยกย่อง) ซึ่งภพสักนิด และไม่อุปาทานเอานันทิ (คือ
ภวตัณหา) ไว้ด้วย'
[ติโรกุฑฑาทิคมนปาฏิหารริย์ - ผ่านสิ่งกีดขวางมีฝาเป็นต้นไปได้
พึงทราบวินิจฉัยในปาฏิหาริย์ข้อว่า "ติโรกุฑฑ์ ติโรปาการ์
ติโรปพฺพต์ อสชุชมาโน คจฺฉติ เสยฺยถาปิ อากาเส - ไปนอกฝา
นอกกำแพง นอกภูเขาได้ไม่ติด เหมือนไปในอากาศก็ได้ " นี้ (ดังต่อ
ไปนี้)
บทว่า ติโรกุฑฑ์ แปลว่า นอกฝา อธิบายว่า ส่วนข้างนอก
ของฝา ในบทนอกนี้ก็นัยนี้ และคำว่า กุฑฑ นั่น เป็นคำเรียกฝาเรือน
* คาถานี้ท่านเล่นอักษร คือ ภ. ว. และตอนท้ายแถมเล่นอักษร น.ท. จึงพลอยแปล
ทับศัพท์เล่นอักษรตามท่านไปบ้างเล็กน้อย ในทางความ บาทสองคือ ภวญจ วิภเวสิน
ติดจะมัว ๆ อยู่ ในเวลานี้เห็นว่า ความน่าจะเป็นดังแปลไว้นั้น
เนื่องด้วยคาถานี้ มีตำนานว่าพระพุทธองค์ทรงหายพระองค์ ตรัสไม่ให้พวกพรหม
เห็นพระองค์ ให้ได้ยินแต่พระสุรเสียง เกจิอาจารย์ที่นิยมความขลัง จึงนับถือเอาว่าเป็น
"คาถาหายตัว" มาจนบัดนี้ แต่ที่จริงพระพุทธองค์มิได้ทรงบริกรรมคาถานี้แล้วหายพระ
องค์ ทรงหายพระองค์ด้วยติโรภาวปาฏิหาริย์ หรืออปากฏปาฏิหาริย์ แล้วจึงตรัสคาถานี้
เช่นนั้นต่างหาก