ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 67
หน้าที่ 67 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความมีวิการใหญ่ตามหลักของวิสุทธิมรรค โดยนำเสนอปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อโลกถูกทำลายด้วยธาตุต่างๆ เช่น ไฟ น้ำ และลม ที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายและธาตุต่างๆ นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับการใช้ศัพท์ในการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของธาตุที่แตกต่างกันในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ เช่น ร่างกายที่แข็งกระด้างจากการกัดของงูกัฏฐมุข

หัวข้อประเด็น

-วิการใหญ่
-ธาตุต่างๆ
-อุปาทินนะ
-อนุปาทินนะ
-คำอธิบายทางธรรม
-ประลัยกัลป์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 67 [ความมีวิการใหญ่] บทว่า "เพราะมีวิการใหญ่" ความว่า ก็ภูตคือธาตุทั้งหลายนั้น ทั้งที่เป็นอุปาทินนะ ทั่งที่เป็นอนุปาทินนะ เป็นธรรมชาติมีความผิด ปกติใหญ่ ใน ๒ อย่างนั้น สำหรับอนุปาทินนะ ความใหญ่แห่งความ ผิดปกติย่อมปรากฏในเมื่อกับวินาศ สำหรับอุปาทินนะ ปรากฏเมื่อ ธาตุกำเริบ จริงอย่างนั้น เปลวไฟอันลุกขึ้นแต่แผ่นดิน แล่นล่วง (ขึ้นไป) กระทั่งถึงพรหมโลก ในเมื่อโลกถูกไฟ (ประลัยกัลป์) ไหม้ แสนโกฏิจักรวาฬหนึ่งถล่มทลายไป เมื่อโลก วินาศด้วยน้ำ (ประลัยกัลป์) อันกำเริบขึ้น แสนโกฏิจักรวาฬหนึ่งกระจัดกระจายไป เมื่อ โลกวินาศด้วยธาตุลม (ประลัยกัลป์) กำเริบขึ้น ประการหนึ่ง ร่างกายถูกงูกัฏฐมุข (ปากไม้ ?) กัดเอาแล้ว ย่อมแข็งกระด้างไป ร่างกายนั้น เพราะ ปฐวีธาตุกำเริบ ก็ย่อมแข็งกระด้าง ดังที่แข็ง กระด้าง) ในเพราะงูกัฏฐมุขฉะนั้น ๑. คำว่า เอก - หนึ่ง หมายความว่าทั้งหมดนั่น เป็นอาณาเขตหนึ่ง ของไฟ - น้ำ - ลม ประลัยกัลป์. ๒. วา ศัพท์ ที่ กฏฐมุเขน นั้น มหาฎีกาแนะไว้ถึง ๓ นัย คือ นัยที่ ๑ ใช้ในอรรถอุปมา คือ วา เมาะเป็นยถา มุขคโต วิย กฏฐมุเขว ใบเป็น กฏฐมุข-
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More