วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและอวัยวะในร่างกาย วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 38
หน้าที่ 38 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงความสัมพันธ์ของหัวใจกับอวัยวะในร่างกาย โดยเปรียบเทียบความเกี่ยวข้องกันเหมือนผลมะม่วงที่ติดอยู่กับขั้ว และอธิบายลักษณะของวักกะในร่างกาย โดยการมองว่าเป็นอัพยากฤตที่ไม่มีความคิดและเป็นส่วนหนึ่งของปฐวีธาตุ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงหน้าที่ของไตที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำปัสสาวะภายในร่างกาย โดยนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของอวัยวะต่าง ๆ ที่ไม่รู้จักกันแต่กลับมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมของการเรียนรู้ในการเข้าใจชีวิต.

หัวข้อประเด็น

- ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะ
- ธรรมชาติของชีวิต
- อุดมคติทางจิตใจ
- การสังเกตและมองในเชิงเปรียบเทียบ
- ความรู้เกี่ยวกับสรีระ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 38 เส้นเดียวแล่นออกจากหลุมคอไปหน่อย แตกเป็นสองเส้นโอบเนื้อหัวใจ อยู่ ในเอ็นใหญ่กับวักกะนั้น เอ็นใหญ่หารู้ไม่ว่า วักกะติดอยู่กับเรา วักกะก็หารู้ไม่ว่า เราติดอยู่กับเอ็นใหญ่ เปรียบเหมือนในผลมะม่วงคู่ อันติดอยู่กับขั้ว (เดียวกัน) ขั้วหารู้ไม่ว่า ผลมะม่วงคู่ติดอยู่กับเรา ผลมะม่วงคู่เล่าก็หารู้ไม่ว่า เราติดอยู่กับขั้ว ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึงและไตร่ตรองถึงกันและกัน อัน วักกะเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า (จากอัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็นของแข้นแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ " หทัย - หัวใจ ว่า "หัวใจ อาศัยตรงกลางซี่กรงกระดูกอกตั้งอยู่ในภายในสรีระ ในภายในซี่กระดูกอกกับหัวใจนั้น ภายในซี่กระดูกอกหารู้ไม่ว่า หัวใจอาศัยเราอยู่ หัวใจเล่าก็ไม่หารู้ไม่ว่า เราอาศัยภายในซี่กระดูกอก ตั้งอยู่ เปรียบเหมือนในชิ้นเนื้อที่คนวางแอบไว้ภายในซี่กรงคานหาม (ปีกครุฑ) เก่า ๆ ภายในซี่กรงคานหามเก่าหารู้ไม่ว่าชิ้นเนื้อเขาวาง แอบเราไว้ ชิ้นเนื้อเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราถูกเขาวางแอบไว้ภายในซี่กรง สรีรวิทยาว่า ไต เป็นอวัยวะจำพวกต่อมชนิดหนึ่ง อยู่ที่ข้างกระดูกสันหลังแถวบั้นเอว ทั้งสองข้าง มีหน้าทำให้เกิดน้ำปัสสาวะ เพื่อส่งไปยังกระเพราะปัสสาวะ ไม่ตรงกับ ลักษณะที่ท่านว่าในที่นี้ ส่วนม้าน ว่าเป็นอวัยวะอยู่ริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย ก็ไม่ตรง กับลักษณะที่ท่านว่าในที่นี้อีกแหละ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More