การเข้าฌานและการน้อมจิตในพระอภิธรรม วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 164
หน้าที่ 164 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าฌานและการน้อมจิตไปตามอำนาจของกาย มีการอธิบายถึงความสามารถของภิกษุที่มีฤทธิ์ในการมองเห็นและได้ยินสิ่งต่าง ๆ ในมนุษย์โลก โดยมีการใช้อรรถกาธิบายความหมายของคำว่า 'ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา' ที่อธิบายถึงการเข้าถึงอารมณ์ที่สงบและละเอียด นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงกระบวนการในการเข้าฌาน และการใช้จิตตามอำนาจความต้องการเพื่อให้เกิดความสงบที่เหมาะสม ในการพัฒนาจิตให้เบาและเข้าถึงสัญญาที่พ้นจากอุปสรรคต่าง ๆ

หัวข้อประเด็น

-การเข้าฌาน
-การน้อมจิต
-พระอภิธรรม
-อิทธิจิต
-สุขสัญญา
-ลหุสัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 164 ก็ได้ฉัน (อาหาร) กัปสัปปิมัณฑะอันอร่อยแล คำว่า "...ด้วยจักษุทิพย์" เป็นต้น ความว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์ นั้น สถิตอยู่ ณ มนุษย์โลกนี้แหละ เจริญอาโลกกสิณเข้าก็มองเห็นรูป ของพรหมผู้นั้น และเธอสถิตอยู่ ณ มนุษยโลกนี้แหละ เมื่อพรหม นั้นพูดก็ได้ยินเสียง (และ) รู้จิต (ของพรหมนั้น) ได้ [กายวเสน จิตตปริณามนปาฏิหาริย์ - ไปด้วยทิสสมานกายก็ได้] คำว่า "น้อมจิตไปตามอำนาจกาย" นั้น มีอรรถกาธิบายว่า น้อมจิตไปตามของกรัชกาย คือถือเอาจิตในฌานที่เป็นบาทยกขึ้น ไว้ในกาย คือทำ (จิตนั้น) ให้มีคติตามกาย คือว่าให้ไปช้า ด้วย ว่าการไปแห่งกายย่อมช้า คำว่า "ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา" (ในข้อนี้) มีความหมายว่า ก้าวลง คือ เข้าไป ถูกต้องเข้า ถึง เข้า ซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ซึ่งเกิดพร้อมกับอิทธิจิตอันมีปาทุกฌาน เป็นอารมณ์ สัญญาอันสัมปยุตกับอุเบกขาชื่อว่าสุขสัญญา เพราะ อุเบกขาท่านกล่าวว่าเป็นสุขอันละเอียด และสัญญานั้นนั่นแหละพึง ทราบว่าชื่อลหุสัญญาบ้าง เพราะเป็นสัญญาที่พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย และจากธรรมที่เป็นข้าศึกทั้งหลายมีวิตกเป็นอาทิ (ซึ่งเป็นของหนัก) ด้วย เมื่อเธอก้าวลงสู่สัญญานั้นอยู่ แม้กรัชกายก็ย่อมเบาดุจปุยนุ่น * มหาฎีกาช่วยขยายความว่า พระโยคีเมื่อน้อมจิตไปด้วยอำนาจความใคร่จะไปด้วย ทิสสมานกาย ก็เข้าฌานอันเป็นบาท ออกแล้วทำบริกรรมว่า "จิตนี้จงไปช้าเหมือน กาย" แล้วเข้าฌานอีก ออกแล้วอธิษฐานด้วยญาณให้เป็นอย่างนั้น คือไปช้า อย่างนี้ เรียกว่าถือเอาจิต ... ยกขึ้นไว้ในกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More