ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 116
หน้าที่ 116 / 244

สรุปเนื้อหา

พระธรรมเสนาบดีได้กล่าวถึงภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์ซึ่งรวมถึงปฐมฌานที่เป็นวิเวกชภูมิ, ทุติยฌานที่เป็นปีติสุขภูมิ, ตติยฌานที่เป็นอุเบกขาสุขภูมิ และจตุตถฌานที่เป็นอทุกขมสุขภูมิ โดยแต่ละภูมิมีความเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงฤทธิ์และอานิสงส์ต่าง ๆ ผ่านการที่พระโยคีเข้าสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา ทำให้เกิดความเบาและควรแก่การเข้าถึงฤทธิ์อย่างแท้จริง ฌานทั้ง ๔ แสดงถึงการบรรลุและพัฒนาฤทธิ์ตามลำดับ ซึ่งล้วนเป็นการพัฒนาจิตใจและการทำสมาธิที่สำคัญในทางพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์
-การเข้าถึงฤทธิ์
-ฌานและสมาธิ
-พระธรรมเสนาบดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 116 พระธรรมเสนาบดีได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า "ถามว่า ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็น ไฉน ? แก้ว่า ปฐมฌาน เป็นวิเวกชภูมิ (ภูมิเกิดแต่วิเวก) ทุติยฌาน เป็นปีติสุขภูมิ (ภูมิปีติและสุข) ตติยฌาน เป็นอุเบกขาสุขภูมิ (ภูมิ อุเบกขาและสุข) จตุตถฌาน เป็นอทุกขมสุขภูมิ (ภูมิอทุกขมสุข) นี้ ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ เป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ เพื่อความบรรลุฤทธิ์ เพื่อ ความทำฤทธิได้ต่าง ๆ เพื่อความได้รับอานิสงส์ต่าง ๆ แห่งฤทธิ์ เพื่อ ความเชี่ยวแห่งฤทธิ์ เพื่อความกล้าแห่งฤทธิ" ดังนี้ ก็เพราะเหตุที่พระโยคีเข้าสู่สุขสัญญา (ความกำหนดหมายอันไป ด้วยกันกับความสุขในฌาน) และลหุสัญญา (ความกำหนดหมายอันไป ด้วยกันกับความเบาที่ประกอบด้วยความสุขนั้น) แล้วเป็นผู้มี (นาม) กาย เบา อ่อน ควรแก่การได้ฤทธิ เพราะความซาบซ่านแห่งปีติ (ใน ปฐมฌานและทุติยฌาน) และเพราะความซาบซ่านแห่งสุข (ในตติย ฌาน) เพราะเหตุนนั้น ในฌาน ๔ นั่น ฌาน ๓ ข้างต้น พึงทราบว่า เป็นสัมภารภูมิ (ภูมิประกอบ ?) เพราะเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิโดย ปริยายนี้ ส่วนจตุตฌาน เป็นปกติภูมิ (ภูมิตามปกติ) เพื่อความได้ ฤทธิแท้ ด. [บาทแห่งฤทธิ์ ๔] อิทธิบาท ๔ พึงทราบว่า (เรียกว่า) บาท ๔ สมพระบาลีว่า ภูมิ ในที่นี้มหาฎีกาให้แปลว่า ที่เป็นที่มีขึ้นแห่งฤทธิ์ หรือที่เป็นเหตุมีขึ้นแห่งฤทธิ์ ซึ่งหมายถึงฌาน. ๒. บ. ป. ๓๑/๕๘๙.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More