การแปลความแยกกันได้และแยกกันมิได้ในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 70
หน้าที่ 70 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สืบค้นถึงหลักการของความแยกกันได้และแยกกันมิได้ในวิสุทธิมรรค โดยเน้นที่การที่ธาตุต่างๆ เกิดร่วมกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แม้ในกรณีที่มีธาตุหลายชนิดปรากฏอยู่ร่วมกัน ทั้งยังมีการวิเคราะห์ความเข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ของธาตุสองข้างหน้าและข้างหลัง รวมถึงการแยกแยะความแตกต่างระหว่างธาตุภายในและภายนอก เช่น การเก็บรวมรวมธาตุที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและคุณสมบัติที่จำเป็นในกามภพ ซึ่งจัดเป็นภาพรวมของความเชื่อในวิสุทธิมรรคที่เกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจโลกของธาตุ

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของความแยกกันได้
-ความเข้ากันได้และไม่เข้ากัน
-การทำความเข้าใจธาตุภายในและภายนอก
-คุณสมบัติของธาตุต่างๆ
-การแปลความทางปรัชญาในวิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

| - ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 70 [ความแยกกันได้และแยกกันมิได้] ข้อว่า "โดยแยกกันได้และแยกกันมิได้" ความว่า ธาตุทั้งหลาย นั้นเกิดร่วมกันแท้ แยกกันเป็นสัดส่วนมิได้ แม้ในกลาปหนึ่ง ๆ มี สุทธัฏฐกลาปเป็นต้น อันมีจำนวนต่ำกว่าเพื่อนก็ดี แต่ว่าโดยลักษณะ ละก็แยกกันได้ พระโยคาวจรจึงมนสิการ โดยแยกกันได้และแยกกัน มิได้ ดังกล่าวฉะนี้ [ความเข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ ข้อว่า "โดยที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ " นั้น ความว่า ใน ธาตุเหล่านั้น แม้ที่แยกกันไม่ออกอย่างนี้ก็ดี ธาตุ ๒ ข้างหน้าเข้ากันได้ เพราะเป็นธาตุหนัก (ด้วยกัน) ธาตุ ๒ ข้างหลังก็อย่างนั้น คือเข้ากัน ได้ เพราะเป็นธาตุเบา (ด้วยกัน) แต่ว่าธาตุ (๒) ข้างหน้า เข้ากันไม่ได้ พระโยคาวจรจึงมนสิการ โดยที่เข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ ดังกล่าวมา ฉะนี้ [ความแปลกกันแห่งธาตุภายในกับธาตุภายนอก] ข้อว่า "โดยความแปลกกันแห่งธาตุภายในกับธาตุภายนอก" นัน วิเสสนะอยู่นอกสมาสบ้างก็ได้ สุทธัฏฐากกลาป คือกลุ่มรูปที่เป็นหมวด ๘ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา อันเป็นรูปแท้ดั้งเดิม เรียกว่า อวินิพโภครูป แยกกัน ไม่ได้ ในกามภพนี้ ถ้ามีอะไรมาผสมอีกก็เป็น 8 เป็น ๑๐... เช่นมีชีวิตมาผสมก็เป็น ชีวิตนวกะ (๕ กับชีวิต อายุนวกะ ก็เรียก) เป็นต้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More