ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 104
ไม่ทันออก ประตู (เมือง) ก็ปิดเสียแล้ว (ทิ้งลูกเล็กนอนอยู่นอกเมือง
คนเดียว) ความที่เด็กไม่เจ็บป่วยตลอดคืนทั้ง ๓ ยามอยู่ภายนอกเมือง
ทั้งที่มียักษ์ร้ายออกพล่านไป" จัดเป็น ญาณวิปผาราอิทธิ โดยนัยที่กล่าว
แล้วเหมือนกัน อันเรื่อง (นี้) น่า (เล่า) ให้พิสดาร
[๕ สมาธิวิปผาราอิทธิ
คุณวิเศษอันเกิดด้วยอนุภาพแห่งสมถะ (ความที่จิตสงบ) ก่อน
หรือหลังสมาธิ ก็ดี ในขณะแห่งสมาธินั้น ก็ดี ชื่อว่า สมาธิวิปผารา
อิทฺธิ - ฤทธิ์สมาธิปกแผ่ สมคำบาลีว่า "ผลคือการละนิวรณ์ทั้งหลายได้
ชื่อว่า สมาธิวิปผาราอิทธิ เพราะสำเร็จด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผลคือ
การละสัญญาในอากิญจัญญายตนะได้ ชื่อว่า สมาธิวิปาราอิทธิ
ของท่านสารีบุตร สมาธิวิปฺผาราอิทธิของท่านสัญชีวะ สมาธิวิปผารา
อิทฺธิของท่านขาณุโกณฑัญญะ สมาธิวิปผาราอิทธิของอุตตราอุบาสิกา
สมาธิวิปฺผาราอิทธิ ของพระนางสามาวดีอุบาสิกา"๔
๑. บ้านใหญ่เมืองโต ขนาดมหาอำนาจในสมัยนั้น ปล่อยให้มียักษ์ร้ายเที่ยวพล่านอยู่
ใกล้ ๆ กำแพงเมืองอย่างนั้น ก็เต็มที่อยู่แล้ว มหาฎีกายังหนุนหนักเข้าไปอีกว่า "ยกฺข
ปริคคหิตณฺหิ ราชคหนคร - จริงซิ กรุงราชคฤห์เป็นเมืองที่ยักษ์สิง" แต่ไม่พบเล่าไว้
ที่ไหนเลย ว่ายักษ์พวกนั้นเคยรบกวนภิกษุทั้งหลาย ซึ่งพักอยู่ในบริเวณเมืองนั้น !
๒. เรื่องของท่านองค์นี้ น่าจะเป็นเรื่องเดียวกันกับเรื่องนายทารุสากฏิกะ เล่าไว้ใน
ปกิณณกวรรค อรรถกถาธรรมบทภาค ๗
๓. มหาฎีกาว่า "ก่อน" หมายเอาขณะแห่งอุปจารฌาน "หลัง" หมายเอาที่สุดแห่งสมาบัติ
๔. ขุ. ป. ๓๑/๕๕๘