วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 29
หน้าที่ 29 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการทำสมาธิและกรรมฐานตามแนวทางของพระพุทธศาสนา โดยเริ่มจากการพิจารณาธาตุในร่างกาย เช่น ธาตุดิน ธาตุน้ำ การแยกโกฏฐาสและการพิจารณาธาตุต่างๆ เพื่อบรรลุความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในธรรมชาติของสรรพสิ่ง ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาแนวทางนี้เพื่อเสริมสร้างปัญญาและความเข้าใจในธรรมชาติ. สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถเข้าไปที่ dmc.tv.

หัวข้อประเด็น

-การทำสมาธิ
-กรรมฐาน
-การพิจารณาธาตุ
-วิสุทธิมรรค
-พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 29 มิได้) ว่า "อากาศอันอาศัยกระดูก ๑ อาศัยเอ็น ๑ อาศัยเนื้อ ๑ อาศัยหนัง ๑ ห่อหุ้ม (ตั้งอยู่) ได้ชื่อว่า "รูป" เท่านั้นเอง" ดังนี้ ภิกษุพึงแยกโกฏฐาสเหล่านั้นออกด้วยมือคือญาณอันแล่นไปตาม ระหว่างแห่งโกฏฐาสนั้น ๆ กำหนดถือเอาธาตุทั้งหลายโดยนัยก่อน นั่นแลว่า "ภาวะที่แข็งก็ดี ภาวะที่หยาบก็ดี อันใด ในโกฏฐาส เหล่านั้น นี่เป็นธาตุดิน" ดังนี้เป็นต้น คะนึงนึกพิจารณาไปโดยว่า เป็นแต่ธาตุ หาสัตว์หาชีวะมิได้ (โดยบริกรรม) ว่า "ธาตุดิน ธาตุน้ำ" เป็นอาทิไปแล้ว ๆ เล่า ๆ เมื่อเธอพยายามไปอย่างนั้น สมาธิอัน (ภาวนา) ปัญญาที่ (ทำกิจ) สอดส่องความแตกต่างแห่ง ธาตุกำหนดถือเอาได้ เป็นสมาธิไม่ถึงอัปปนา เป็นเพียงอุปจาร เพราะความที่มีสภาวธรรมเป็นอารมณ์ ย่อมจะเกิดขึ้นโดยไม่ช้าเลย นี้เป็นภาวนานัยในจตุธาตุววัฏฐาน ที่มาโดยสังเขป [วิตถารนัย] ส่วนภาวนานัยในจตุธาตุววัฏฐาน ที่มาโดยพิสดาร พึงทราบดัง (ต่อไป) นี้ ก็แลพระโยคีผู้มีปัญญาไม่กล้านัก ใคร่จะเจริญกรรมฐานนี้ จึง เรียนเอาธาตุอย่างพิสดารโดยอาการ ๔๒ ในสำนักของอาจารย์แล้ว อยู่ ในเสนาสนะมีประการดังกล่าวแล้ว ทำกิจทั้งปวงเสร็จแล้วไปในที่ลับ (คน) เร้นอยู่แล้วจึงเจริญกรรมฐานโดยอาการ ๔ อย่างนี้ คือ โดย สสัมภารสังเขป (สังเขปโกฏฐาสทั้งหลายเข้าเป็นหมู่ๆ ตามอาการ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More