ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 203
ถูก ๆ เข้าแล้ว ย่อมละลายไป (สิ้น) น้ำ (นั่น) ลมธารไว้รอบ (คือ
ลมแทนฝั่ง) น้ำจับแต่แผ่นดิน” (ขึ้นไป) จนถึง (พรหมโลก) ชั้น
ทุติยฌานภูมิ มันยังพรหมโลกทั้ง ๓ » ชั้นในทุติยฌานนั้นให้ละลาย
แล้ว (ขึ้นไป) หยุดจด (ใต้) ขั้นสุภิกณหะ” น้ำล้างกับนั้น สิ่งที่นับ
ว่าเป็นสังขาร แม้สักอณูหนึ่งยังมี (เหลือ) อยู่ตราบใด ก็ยังไม่ระงับ
ตราบนั้น ต่อครอบงำ (คือย่อย) สิ่งที่นับเป็นสังขารทั้งปวงอันถูกน้ำ
แล้ว (ให้ละลายไปสิ้นแล้ว) จึงระงับคือถึงซึ่งความเหือดหายไปโดย
ฉับพลัน อากาศเบื้องบนกับทั้งอากาศเบื้องล่างก็มืดมิดเป็นอันเดียวกัน
แล (แต่นี้) คำที่เหลือทั้งปวงก็เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว (ในเตโช
สังวัฏฏะ) (เป็น) แต่ในอาโปสังวัฏฏะนี้ (ตอนเกิดขึ้นใหม่)
โลกนับอาภัสสรพรหมโลกเป็นต้น เกิดปรากฏขึ้น (เพราะอาภัสสร
พรหมโลกก็ถูกน้ำกรดละลายด้วย) และสัตว์ทั้งหลายจุติจากชั้นสุภกิณหะ
(ลงมา) เกิดในที่ต่าง ๆมีที่ (ที่เคยเป็น) พรหมโลกชั้นอาภัสสรเป็นต้น
เท่านั้น “
๑. มหาฎีกาขยายความว่า ที่ว่า "แต่แผ่นดิน" นี้ หมายถึง "แต่ส่วนล่างสุดแห่งแผ่นดิน"
ก็คือว่าละลายดินทั้งหมด ตลอดทั้งน้ำรองแผ่นดินและลมอุ้มน้ำนั้น ให้สลายกลายเป็น
น้ำกรดไปหมดสิ้น.
๒. ทุติยฌานภูมิ ๓ ชั้น คือชั้นปริตตาภะ อัปปมาณาภะ และอาภัสสระ
ค
အက
๓. มหาฎีกาว่า ที่ว่า ชั้นสุภกิณหะ นั้น ท่านกำหนดเอาตติยฌานภูมิทั้ง ๓ ชั้นนั่นแหละ
แต่ยกเอาชั้นสูงสุดมากล่าวแต่ชั้นเดียว เพราะฉะนั้น ความที่แท้ก็คือว่า น้ำกรดขึ้นไป
หยุดจดใต้ตติยฌานภูมินั่นเอง (ตติยฌานภูมิ ๓ คือ ปริตตสุภะ อัปปมาณสุภะ และ
สุภกิณหะ)
๔. "เท่านั้น" คำนี้แปลจากศัพท์ เกวส์ ต้นประโยค (เกวล์ ปณิธ...) เข้าใจว่า
สัมพันธ์พึงประโยคหลังด้วย เพราะมี ๒ ศัพท์ควบอยู่ (สุภกิณหโต จ...)