การเข้าใจแจ้งในทางพระโยคาวจร วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 227
หน้าที่ 227 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายเกี่ยวกับการเข้าใจและการปฏิบัติของพระโยคาวจรในวิสุทธิมรรค โดยเน้นที่การใช้แสงสว่างและการทำสมาธิ การฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน การไม่มองไปข้างนอกช่วยลดความฟุ้งซ่าน การเข้าใจที่แท้จริงในอภิธรรมสามารถนำไปสู่การเข้าถึงฌานลึก ในงานนี้ได้เปรียบเทียบการเดินทางในคืนที่ไม่สามารถมองเห็นพื้นดินหากไม่มีแสงสว่าง เราสามารถทำให้แสงสว่างปรากฏขึ้นโดยการเพ่งอยู่กับอารมณ์ในทางจิต เมื่อแสงนั้นปรากฏขึ้น ชีวิตจิตใจจะมีเสถียรภาพมากขึ้น และพัฒนาคุณภาพของการปฏิบัติได้ดีขึ้นเมื่อเกิดการเข้าใจนี้

หัวข้อประเด็น

-การทำฌาน
-แสงสว่างในสมาธิ
-การฝึกฝนทางปฏิบัติ
-อุปจารฌาน
-การลดความฟุ้งซ่าน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 226 ไปเท่านั้น (ไม่พึงดูไปภายนอก) ก็แล เมื่อเธอดูรูปเสีย วาระแห่ง บริกรรมย่อมล่วงไป ต่อนั้นแสงสว่างก็หายไป ครั้นแสงสว่างนั้นหาย ไปแล้ว รูปก็ไม่ปรากฏด้วย” เมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคาวจรนั้นจึง เข้า"ปาทฌานนั่นแหละ ออกจากฌานนั้นแล้ว จึงแผ่ (ขยาย) แสง สว่างไปให้บ่อย ๆ เถิด เมื่อทำไปอย่างนั้น แสงสว่างย่อมจะถึงความ แรงกล้า (คืออยู่ได้นาน) โดยลำดับแล (ต่อไปนี้) เธออธิษฐาน ว่า "แสงสว่างจงมีอยู่ในที่นี้" กำหนดที่ไว้เท่าใด แสงสว่างก็คงอยู่ใน ที่ (เท่า) นั้น การเห็นรูปย่อมมีแก่เธอผู้นั่งดูอยู่ทั้งวันก็ได้ ก็บุรุษ ผู้เดินทางในกลางคืนด้วยคบเพลิงหญ้า เป็นข้ออุปมาได้ในคำที่กล่าวนี้ ได้ยินว่าบุรุษผู้หนึ่ง เดินทางไปในกลางคือด้วยคบเพลิงหญ้า (ครั้นเดินไป) คบเพลิงหญ้านั้นของเขามอดลง ทีนี้พื้นดิน ทำ เรียบ ก็ไม่ปรากฏแก่เขา เขาจึงเขี่ยคบเพลิงหญ้านั้นเข้าที่พื้นดิน ทำ ให้มันโพลกขึ้นอีก ก็แลคบเพลิงหญ้านั้น ครั้นโพลงขึ้นแล้ว ได้ทำ แสงสว่างมากกว่าแสงสว่างครั้นก่อน (ไปอีก) เมื่อเขาทำคบก็ค่อยขึ้นมา ครั้นตะวันขึ้นแล้ว การใช้คงเพลิงก็ไม่มี ดังนั้นเขาจึงทิ้งคบเพลิงนั้น เสียแล้ว (เดิน) ไปได้ตลอดวัน ๑. เพราะถ้าดูออกไปภายนอก จะเป็นเหตุให้เกิดความฟุ้งซ่าน ๒. มหาฎีกาอธิบายตรงนี้ว่า คำว่าบริกรรมในที่นี้ ก็คืออุปจารฌาน ที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ดังกล่าวแล้ว อุปจารฌานนั้น เมื่อพระโยคาวจรดูรูปเสีย ก็ไม่เป็นไป การเห็นรูปมีได้ด้วย อำนาจแสงสว่างแห่งกสิณ ๆ มีได้ก็ด้วยอำนาจบริกรรม เพราะฉะนั้น เมื่อบริกรรม (คือ น อุปจารฌาน) ไม่เป็นไป แสงสว่างและการเห็นรูปก็มีไม่ได้ทั้งสองอย่าง ๓. เข้าฌานท่านเคยใช้ สมาปชฺชิตวา มาทั้งนั้น เพิ่งมาใช้ ปวิสิตฺวา ที่ตรงนี้ แต่ออก จากฌานยังคงใช้ วุฏฐาย ไม่ยักใช้ นิกขมิตวา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More