ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 185
พระโพธิ เวลาชำระบาตร เวลาหยิบบาตร กิจที่ทำแต่อหยิบบาตรจนถึง
ล้างหน้า' กิจที่ทำในเวลาใกล้รุ่ง กิจที่ทำในมัชฌิมยาม กิจที่ทำใน
ปฐมยาม
ก็กิจเพียงเท่านี้ ย่อมปรากฏแม้แก่ปกติจิต ยิ่งสมาธิจิตในบริ
กรามก็ยิ่งจะปรากฏชัดทีเดียว แต่ถ้าในกิจเหล่านั้น กิจอะไรอย่างหนึ่งไม่
ปรากฏไซร้ ก็พึงเข้าฌานอันเป็นบาท ออกแล้วอาวัชชนาการไปใหม่
ด้วยวิธีเท่านี้ กิจนั้นก็ย่อมจะปรากฏ (เห็นได้สิ้น) ฉะนั้น
ภิกษุพึงอาวัชนาการถึงกิจที่ทำมาโดยย้อนลำดับไปทางเดียวอย่างนี้
แม้ในวันที่ ๒ แม้ในวันที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ แม้ใน ๑๐ วัน แม้ในกึ่ง
เดือน แม้ในเดือนหนึ่ง แม้กระทั่งปีหนึ่ง โดยอุบายนี้แล ภิกษุผู้
เมื่ออาวัชนาการ (ย้อน) ไปได้ถึง ๑๐ ปี ๒๐ ปี เป็นอาทิไปจนถึง
การปฏิสนธิของตนในภพนี้ได้ ก็พึงอาวัชนาการถึงรูปอันเป็นไปใน
ขณะจุติในภพก่อน (ต่อไป) อันภิกษุผู้มีปัญญาย่อมอาจเพิกปฏิสนธิ
เสีย ทำนามรูปในขณะจุติให้เป็นอารมณ์ได้โดยวาระแรกทีเดียว แต่
เพราะนามรูปในภพก่อน ก็ดับไปแล้วไม่มีเหลือ นามรูปอื่นเกิดขึ้น
(ใหม่) เพราะเหตุนั้น ฐานะนั้นจึงเป็นที่อับทึบ ดุจที่มืดตื้อ ยากที่ผู้มี
* ปตฺตปฏิคคหณ ถ้าแปลว่า รับเอาบาตร ความที่ส่อไปว่า ต้องมีผู้ให้ ภิกษุจึงได้รับ
เอา ก็บาตรเป็นบริขารประจำตัวอยู่แล้ว เมื่อเก็บเธอก็เก็บไว้เอง จะต้องมีผู้ให้อะไรอีก
ในที่นี้จึงแปลว่า หยิบ ปตฺตโธวน ถ้าแปลว่าล้างบาตร ไม่ได้กับความจริง เพราะก่อนจะ
เก็บ ก็ต้องล้างและเช็ดแล้ว ตอนนี้จะเป็นเพียงทำความสะอาด เช่นเช็ดฝุ่นละอองเท่านั้น
ในที่นี้จึงแปลเสียว่า ชำระ