ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 43
หน้าที่ 43 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้เราได้สำรวจความคิดเกี่ยวกับอาหารใหม่และอาหารเก่า ซึ่งอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและธรรมชาติที่อยู่ภายในนั้น โดยยกตัวอย่างการเปรียบเทียบระหว่างอาหารเหล่านี้กับสถานที่ต่างๆในร่างกาย เช่น กระเพาะอุจจาระ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นถึงความว่างเปล่าและการไม่มีอัตตาของทุกสิ่งในธรรมชาติ สุดท้ายบทความนี้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทที่อาหารทั้งสองประเภทมีในชีวิตของมนุษย์และการเข้าใจธรรมชาติที่ลึกซึ้งขึ้น ผ่านการไม่แยกแยะตัวตนออกจากสิ่งรอบข้าง.

หัวข้อประเด็น

-อาหารใหม่
-อาหารเก่า
-ธรรมชาติ
-สมาธิ
-วิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 43 ท้องกับอาหารใหม่นั้น ท้องหารู้ไม่ว่า อาหารใหม่อยู่ในเรา อาหาร ใหม่เล่าก็หารู้ไม่ว่า เราอยู่ในท้อง เปรียบเหมือนในรากสุนัขที่อยู่ใน รางสุนัข รางสุนัขหารู้ไม่ว่า รากสุนัขอยู่ในเรา รากสุนัขเล่าก็หารู้ ไม่ว่า เราอยู่ในรางสุนัข ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึงและไตร่ตรองถึงกันและกัน อันอาหารใหม่เป็น โกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่าง เปล่า (จากอัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็นของแข้นแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้" กรีส์ - อาหารเก่า ว่า "อาหารเก่า อยู่ที่ปลายลำไส้ใหญ่ (สัณฐาน) ดังปล้องไม้ไผ่ (ยาว) ประมาณ 4 นิ้ว ที่เรียกกันว่า (ปักกาสยะ) กระเพาะอุจจาระ ในกระเพาะอุจจาระกับอาหารเก่านั้น กระเพาะอุจจาระหารู้ไม่ว่า อาหารเก่าอยู่ในเรา อาหารเก่าเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราอยู่ในกระเพาะ อุจจาระ เปรียบเหมือนในดินสีเหลืองอย่างละเอียด ที่เขาอัดบรรจุลง ไปในปล้องไม้ไผ่ ปล้องไม้ไผ่หารู้ไม่ว่า ดินเหลืองอยู่ในเรา ดิน เหลืองเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราอยู่ในปล้องไม้ไผ่ ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึงและไตร่ตรองถึงกันและกัน อัน อาหารเก่าเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็น อัพยากฤต ว่างเปล่า (จากอัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็น ของแข้งแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ "
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More