ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 47
โลหิต - เลือด
| -
ว่า "ในโลหิตทั้งหลาย สังสรณโลหิต (โลหิตเดินฉ ซาบซ่าน
ไปอยู่ทั่วสรีระ ดังน้ำดี (ชนิดไม่ติดที่) สันนิจิตโลหิต (โลหิตขัง)
(ขังอยู่) เต็มส่วนล่างที่อยู่ของตับ มีประมาณเต็มปัตถะ ๑ ยังไต หัวใจ
ตับ และปอด ให้ชุ่มอยู่” ในโลหิต ๒ อย่างนั้น วินิจฉัยในสังสรณ
โลหิต ก็เช่นเดียวกับดีชนิดไม่ติดที่นั่นแล ส่วนในโลหิตอีกอย่าง
(คือ สันนิจิตโลหิต) พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ในน้ำที่บุคคลเทลงใน
กระเบื้องหม้อเก่า (ทะลุ หยดลงไป) ทำก้อนดินและก้อนกรวดเป็น
ต้น” (ที่อยู่) ข้างล่างให้เปียกด้วย ก้อนดินและก้อนกรวดเป็นต้น หา
รู้ไม่ว่าเราถูกน้ำทำให้เปียกอยู่ น้ำเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราทำก้อนดินและ
ก้อนกรวดเป็นต้นให้เปียก ฉันใด ที่ส่วนล่างของตับก็ดี ไตเป็นต้น
ก็ดี หารู้ไม่ว่าโลหิต (ขัง) อยู่ในเรา หรือว่าโลหิตทำเราให้ชุ่มอยู่
โลหิตเล่าก็หารู้ไม่ว่าเรา (ขังอยู่) เต็มที่ส่วนล่างของตับ ทำไตเป็นต้น
ให้ชุ่มอยู่ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั้นปราศจาก
ความคิดคำนึง และไตร่ตรองถึงกันและกัน อันโลหิตเป็นโกฏฐาส
แผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า (จาก
อัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็นของเหลว มีอาการซึมซาบ
ได้ เป็นอาโปธาตุ ด้วยประการฉะนี้
๑. ท่านอธิบายว่า ตับชุ่ม เพราะโลหิตขังอยู่ล่าง นอกนั้นชุ่มเพราะโลหิตไหล
ผ่านไปข้างบนนิดหน่อย ฟังดูแล้วก็เข้าใจยาก !.
๒. ปาฐะใช้ศัพท์ว่า อิตร์ เข้าใจว่าคลาดเคลื่อน เพราะเป็นคู่กับ สสรณโลหิต จึงควร
เป็น อิตเร อนึ่ง เป็น อิตร์ ไม่มีทางจะสัมพันธ์ให้สนิทได้ ในที่นี้แปลตามที่เห็นว่าถูก
๓. เลฑฺฑุขธานี เข้าใจว่าเป็น เลฑฺฑขณฑาทีน ถูกกว่า