ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 177
ก็ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า "ถามว่า โยคาวจรภิกษุผู้ใคร่จะรู้จิตของผู้อื่นใน
ชั้นอรูปภพ จะเห็นหทัยรูปของใคร จะดูความผันแปรแห่งอินทรีย์ของ
ใคร" แก้ว่า "ไม่ (ต้อง) ดูของใคร ๆ ข้อที่อาวัชนาการถึงจิต
(ของผู้อื่น) ในภพใดภพหนึ่ง (ที่เป็นปัญจโวการ หรือจตุโวการ)
ไป ย่อมรู้จิต ๑๖ ประเภทได้ นั่นเป็นวิสัยของภิกษุผู้มีฤทธิ์ (อยู่แล้ว)
ส่วนกถา (กล่าวถึงการทำบริกรรม เริ่มแต่เจริญอาโลกกสิณไปเป็น
อาทิ) นี้ (นั้น) กล่าวสำหรับภิกษุผู้ยังมิได้ทำอภินิเวส (คือความลงมือ
ทำจริงจังในการบำเพ็ญอภิญญา)"
[อธิบายจิต ๑๖ ประเภท]
ส่วนในปาฐะมี "สราคิ วา จิตต์ - จิตมีราคะ....หรือ" เป็น
อาทิ มีอรรถกาธิบายว่า จิตที่สหรคตกับโลภะ 4 ดวง พึงทราบว่าชื่อ
สราคจิต (จิตมีราคะ) จิตที่เหลือ คือจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤต
เป็นไปในภูมิ ๔ ชื่อวีตรคจิต (จิตปราศจากราคะ) ส่วนจิต ๔
ดวงนี้ คือ โทมนัสจิต ๒ วิกิจฉาจิตและอุทธัจจจิต ๒ ไม่ถึงซึ่งการ
สงเคราะห์ (คือรวมเข้า) ในทุกะนี้ แต่พระเถระลางเหล่าก็สงเคราะห์
จิตทั้ง ๔ นั้นเข้าด้วย
ส่วนโทมนัสจิต ๒ ชื่อว่า สโทสจิต (จิตมีโทสะ) จิตที่เป็น
กุศลและอัพยากฤตเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งปวง ชื่อว่า วีตโทสจิต (จิต
ปราศจากโทสะ) จิตที่เหลือทั้งหลาย คืออกุศลจิต ไม่ถึงซึ่งการ
๑๐
โดยมากที่ท่านใช้ศัพท์ อาทิกัมมิกะ (ผู้แรกทำ) ในที่นี้ท่านยักโวหารใช้ อกตาภินิเวส