วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 193
หน้าที่ 193 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในหน้าที่ 193 สรุปถึงการเกิดปรากฏการณ์ของสูรย์ในแต่ละระยะเวลา ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำในนภา ตั้งแต่สูรย์ดวงแรกถึงดวงที่หก จนทำให้น้ำในแม่น้ำน้อยและมหาสมุทรแห้งจนหมด เหลือไว้เพียงควันและกลุ่มเมฆ รวมถึงการระบุแม่น้ำใหญ่ 5 แห่งในชมพูทวีป ซึ่งคือคงคา ยมุนา สรภู อจิรวดี และมหึ.

หัวข้อประเด็น

-การเปลี่ยนแปลงของน้ำ
-การเกิดของสูรย์
-เบญจมหานที
-ปรากฏการณ์ธรรมชาติ
-ความหมายและการรับรู้ในทางธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 193 บ้าง ยัง (มี) ลอยอยู่ในอากาศ ครั้นกัปปวินาสกสูรย์เป็นไป ท้องฟ้า เป็นปราศจากควัน และก้อนเมฆ ใสราวะวงแว่น (ส่องหน้า) เว้น เบญจมหานทีแล้ว' น้ำในที่ทั้งหลายมีแม่น้ำน้อยที่เหลือเป็นต้น แห้ง (หมด) แต่นั้นไปอีกล่วงกาลนานไกล สูรย์ดวงที่ ๓ ก็เกิดปรากฏขึ้น เพราะความเกิดปรากฏขึ้นแห่งสูรย์ดวงที่ ๓ ไรเล่า แม้ (เบญจ) มหานทีก็แห้ง แต่นั้นไปอีกล่วงกาลนานไกล สูรย์ดวงที่ 4 ก็เกิดปรากฏขึ้น เพราะความเกิดปรากฏขึ้นแห่งสูรย์ดวงที่ 4 ไรเล่า มหาสระทั้ง ๒ นี้ ๔ ය คือ สระสีหปาตนะ สระหงสหาตหะ สระกัณณมุณฑกะ สระรถการ สระอโนดาต สระฉัททันต์ สระกุณาละ อันเป็นต้นน้ำ (เบญจ) มหานที (อยู่) ในนิพพานต์ ก็แห้ง แต่นั้นไปอีกล่วงกาลนานไกล สูรย์ดวงที่ ๕ ก็เกิดปรากฏขึ้น เพราะความเกิดปรากฏขึ้นแห่งสูรย์ดวงที่ ๕ ไรเล่า น้ำในมหาสมุทรแม้ แต่พอเปียกข้อองคุลีก็ไม่เหลืออยู่ (แห้งไป) โดยลำดับ แต่นั้นไปอีกล่วงกาลนานไกล สูรย์ดวงที่ ๖ ก็เกิดปรากฏขึ้น เพราะความเกิดปรากฏขึ้นแห่งสูรย์ดวงที่ 5 ไรเล่า สกลจักรวาฬก็เกิด เป็นควันกลุ่มไป (จน) สิ้นยาง (คืออาโปธาตุ) เพราะควัน (รม) และจักรวาฬนี้เป็นฉันใด แม้แสนโกฏิจักรวาฬก็เป็นฉันนั้น * เบญจมหานที ท่านก็ชี้เอาแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ ในชมพูทวีปของท่าน คงคา ยมุนา สรภู อจิรวดี มหึ เท่านั้นเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More