การจำแนกปัจจัยในธาตุ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 73
หน้าที่ 73 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาอธิบายเกี่ยวกับการจำแนกปัจจัยของธาตุต่างๆ โดยเน้นที่กรรมนั้นเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อธาตุ รวมถึงบทบาทของจิต อาหาร และฤดูในการเกิดขึ้นของธาตุแต่ละชนิด การอ้างอิงถึงบทความทางพระพุทธศาสนาในเรื่องนี้ทำให้เข้าใจความลึกซึ้งระหว่างความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้งหลายและธาตุ ซึ่งมีผลต่อการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งต่างๆ ในโลกนี้

หัวข้อประเด็น

-ปัจจัยของธาตุ
-กรรรม
-จิต
-อาหาร
-ฤดู

ข้อความต้นฉบับในหน้า

** ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 73 นอกนี้ ก็หารู้ว่า "ปฐวีธาตุเป็นที่ตั้งแห่งเราทั้งหลาย จึงเป็นปัจจัย (ของเราทั้งหลาย) " ดังนี้ไม่ นัยในธาตุทั้งปวงก็ดุจนัยนี้ พระโยคาวจร พึงมนสิการ โดยไม่มีคิดคำนึง ดังกล่าวมาฉะนี้ [ความจำแนกปัจจัย] ข้อว่า "โดยจำแนกปัจจัย" นั้น มีพรรณนาว่า ก็ปัจจัยของธาตุ ทั้งหลายมี ๔ คือ กราม จิต อาหาร ฤดู" ในปัจจัยเหล่านั้น กรรม นั่นเอง เป็นปัจจัยของธาตุทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ปัจจัยธรรม (อีก ๓) มีจิตเป็นต้นหาเป็นปัจจัยไม่ ธาตุทั้งหลายที่มีจิตเป็นต้นเป็น สมุฏฐานเล่า ก็มีปัจจัยธรรม (ตามลำดับ) มีจิตเป็นต้นนั่นเองเป็น ปัจจัย ธรรมนอกนี้หาเป็นปัจจัยไม่ อนึ่ง กรรมเป็นชนกปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งธาตุที่เหลือ (มีธาตุที่มีจิตเป็นสมุฏฐานเป็นต้น) โดยปริยาย จิต เป็นชนกปัจจัยแห่งธาตุทั้งหลายที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็น ปัจฉาชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตปัจจัยแห่งธาตุที่เหลือ มหาฎีกาชี้ข้อสังเกตความแปลกกันแห่งข้อ ปจจัยโต ที่กล่าวแล้ว กับข้อนี้ ว่า ข้อ ปัจจยโต นั้น กล่าวความที่ธาตุ ๔ เป็นปัจจัยของกันและกัน ส่วนข้อนี้กล่าวถึงสิ่งที่เป็น ปัจจัยให้ธาตุ ๔ นั้นเกิดขึ้น โดยนัยต่าง ๆ อย่างละเอียด ท่านว่า กรรม หมายถึงกุศลและอกุศลที่เป็นปัจจัยให้รูปเกิดขึ้น จิต ก็หมาย ถึงจิตอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นปัจจัยให้รูปเกิดขึ้น อาหาร หมายถึงอาหารภายในตนที่เป็น ปัจจัยให้รูปเกิดขึ้น ฤดู ก็ฤดูอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยความก็มุ่งเอาเตโชธาตุ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More