วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - ธาตุภายในและภายนอก วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 71
หน้าที่ 71 / 244

สรุปเนื้อหา

มีการกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างธาตุภายในและภายนอก โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างปฐวีธาตุและความเป็นปัจจัยช่วยกันของธาตุต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิญญาณวัตถุรวมถึงอินทรีย์ทั้งหลายที่เชื่อมโยงกันในระบบจิตวิญญาณ นอกจากนี้ ยังพูดถึงสมุฏฐานที่ทำให้ธาตุเหล่านี้ทำงานร่วมกันและมีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของมนุษย์

หัวข้อประเด็น

-ธาตุภายในและภายนอก
-สมุฏฐานสี่
-วิญญาณวัตถุ
-การช่วยกันในธรรมชาติ
-ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 71 ความว่า ธาตุภายในเป็นที่อาศัยแห่งวิญญาณวัตถุ วิญญัติ และอินทรีย์ ทั้งหลาย มีอิริยาบถ มีสมุฏฐานสี่ (ส่วน) ธาตุภายนอกมีประการ ตรงกันข้ามกับธาตุในที่กล่าวแล้ว พระโยคาวจรจึงมนสิการ โดย ความแปลกกันแห่งธาตุภายในกับธาตุภายนอก ดังกล่าวมาฉะนี้ [ความรวมเข้าด้วยกัน] ข้อว่า "โดยรวม (ที่เหมือนกัน) เข้าด้วยกัน" นั้น ความว่า ปฐวีธาตุ (ส่วน) ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน ก็รวมเข้าเป็นอันเดียวกันกับ ธาตุนอกนี้ ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน (ด้วยกัน) เพราะไม่มีความต่างกัน แห่งสมุฏฐาน ปฐวีธาตุ (ส่วน) ที่มีสิ่งอื่นมีจิตเป็นเป็นสมุฏฐาน ก็อย่างนั้น คือรวมเป็นอันเดียวกับธาตุนอกนี้ ที่มีสิ่งอื่นมีจิ ที่มีสิ่งอื่นมีจิตเป็นต้น เป็นสมุฏฐาน (ด้วยกัน) พระโยคาวจรจึงมนสิการโดยรวม ที่เหมือน กัน) เข้าด้วยกัน ดังกล่าวมาฉะนี้ [ความเป็นปัจจัยของกันและกัน] ข้อว่า "โดยเป็นปัจจัย (ของกันและกัน) " นั้นความว่า ปฐวีธาตุ อันอาโปช่วยยึดไว้ เตโชธาตุช่วยรักษาไว้ วาโยธาตุช่วยพะยุงไว้ (นั่น มหาฎีกาว่า วิญญาณวัตถุ ก็คืออายาตนะภายใน 6 มีจักษุเป็นต้น วิญญัติ ๒ คือ กาย วิญญัติ วจีวิญญาติ อินทรีย์ ๓ คือ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ และชีวิตทรีย์ แต่ถ้า วิญญาณวัตถุ หมายเอา หทยวัตถุ (คือหัวใจ) ตามที่เกิดอาจารย์ว่า อินทรีย์ก็เป็น ๘ ขึ้น โดยเพิ่มอินทรีย์ที่เป็นรูปอีก ๕ คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ กายินทรีย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More