วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 145
หน้าที่ 145 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการทำปาฏิหาริย์ในอากาศ ซึ่งสามารถทำได้โดยการนั่งขัดสมาธิ และการอธิษฐานให้แผ่นดินเกิดขึ้นในอากาศได้ โดยมีการอธิบายถึงนกที่มีปีกและสัตว์น้ำต่างๆ โดยนำเสนอหลักธรรมของพระพุทธศาสนาในการประยุกต์ใช้ฤทธิ์ให้ถูกต้อง. เนื้อหานี้ยังมีการเปรียบเทียบกับสัตว์ที่มีการเคลื่อนไหวในน้ำและอากาศ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของการเกิดอยู่นาน.

หัวข้อประเด็น

-ปาฏิหาริย์ในอากาศ
-การนั่งขัดสมาธิ
-หลักธรรมในพระพุทธศาสนา
-สัตว์น้ำและการดำรงชีวิต
-คุณสมบัติของนก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 145 นั้น ปลา เต่า และสัตว์หากินในน้ำมีนกกาน้ำเป็นต้น” คงท่อนไป ได้ตามพอใจ แต่ถ้าผู้มีฤทธิ์นี้ปรารถนาจะทำนั้นให้เป็นดินสำหรับ คนทั้งหลายอื่นด้วย ก็ทำได้เหมือนกัน ต่อล่วงกาลที่กำหนดไว้ มัน จึง(กลับ) เป็นน้ำไปตามเดิม (อากาเส ปัลลังกกมปาฏิหาริย์ - นั่งขัดสมาธิไปในอากาศก็ได้ คำว่า ปลุลงเกน กมติ ความว่า ไปทั้ง (ที่นั่งคู่) บัลลังก์ (คือนั่งขัดสมาธิไป) คำว่า ปกขี สกุโณ แปลว่า นกที่ประกอบ ด้วยปีกทั้งสอง” ก็แล ภิกษุผู้ใคร่จะทำ (ปาฏิหาริย์) อย่างนั้น จึงเข้าปฐวีกสิณ ออกแล้ว ถ้าเธอต้องการจะนั่งไป ก็กำหนดตัดตอน ที่ (ในอากาศ) ขนาดเท่าบัลลังก์ (คือพอนั่งขัดสมาธิได้) ทำ บริกรรมไปแล้วอธิษฐานโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ พึงกำหนด ตัดตอนที่ (ในอากาศ) ตามควรอย่างนี้คือ ถ้าเธอเป็นผู้ใคร่จะนอน ไป ก็กำหนดตัดตอนที่ (ในอากาศ) ขนาดเท่าเตียงนอน ถ้าเธอ เป็นผู้ใคร่จะเดินไป ก็กำหนดตัดตอนที่ (ในอากาศ) ขนาดเท่าหนทาง แล้วอธิษฐานว่า "(อากาศ) จงเป็นแผ่นดิน" โดยนัยที่กล่าวแล้ว ๑. อุทกชาตาทโย ไม่เข้าทีเลย นี่ก็พูดถึงสัตว์น้ำแล้ว จะว่ามีสัตว์เกิดในน้ำเป็นต้น อย่างไรกัน เป็นต้นของอะไร ปาฐะฉบับพม่าเป็น อุทกกากาทโย เข้าที่กว่า มจฺฉกจฉปา ว่าถึงสัตว์น้ำโดยตรง ส่วนอุทกกากาทโย ว่าถึงสัตว์บก แต่ชอบกินปลา จึงหากินใน น้ำ ดำน้ำก็ได้ เช่นนกกาน้ำ ได้ความดี ในที่นี้แปลตามฉบับพม่า. ๒. ที่บาลีใช้ ปกขี เป็นวิเสสนะของ สกุโณ นั้นเป็นความรอบคอบของภาษา พูด ไม่ให้ดิ้นได้ เพราะนกที่ไปในอากาศได้นั้นต้องเป็นนกมีปีกสมบูรณ์ นกปีกยังไม่งอก หรือปีกหักหาไปได้ไม่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More