ความเข้าใจในธรรมและร่างกายตามวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 37
หน้าที่ 37 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในภาค ๒ ตอน ๒ ของวิสุทธิมรรค สอนให้เราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างธรรมและโครงสร้างร่างกาย การไม่คิดคำนึงถึงซึ่งกันและกันในรูปแบบของกระดูกและเยื่อในกระดูกนั้น ทำให้เห็นถึงภาวะที่ว่างเปล่าจากอัตตาและความเป็นปฐวีธาตุ บทวิเคราะห์นี้ยกตัวอย่างว่าเหมือนการมีหน่อไม้ที่อยู่ภายในปล้องไม้ ทั้งกระดูกและเยื่อไม่รู้ว่ามีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างไร โดยเนื้อหาให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าใจธรรมที่ปราศจากการคิดคำนึงถึงซึ่งกันและกัน.

หัวข้อประเด็น

-ความคิดและการรู้จักตน
-ความเชื่อมโยงของร่างกาย
-การวิเคราะห์ธรรม
-การว่างเปล่าจากอัตตา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 37 ตั้งอยู่ อันบน ๆ เล่า ก็หารู้ไม่ว่า เราตั้งอยู่บนอันล่าง ๆ ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึงและไตร่ตรองถึง กันและกัน อันกระดูกเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความ คิด เป็นอัพยากฤตว่างเปล่า (จากอัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็นของแข้นแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ " อฏฐิมิญช์ - เยื่อในกระดูก ว่า "เยื่อในกระดูก ตั้งอยู่ในส่วนในของกระดูกนั้น ๆ ใน กระดูกกับเยื่อนั้น กระดูกทั้งหลายหารู้ไม่ว่า เมื่อตั้งอยู่ในภายในของเรา เยื่อเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราตั้งอยู่ในภายในของกระดูกทั้งหลาย เปรียบ เหมือนในหน่อไม้ทั้งหลาย มีหน่อหวายที่นั่งแล้วเป็นต้น อันบุคคล สอดเข้าไว้ในภายในของปล้องไม้มีปล้องไผ่เป็นอาทิ ปล้องไผ่เป็นอาทิ หารู้ไม่ว่า หน่อหวายเป็นต้นเขาสอดไว้ในเรา หน่อหวายเป็นต้นเล่า ก็หารู้ไม่ว่า เราอยู่ในปล้องไผ่เป็นอาทิ ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึงและไตร่ตรองถึงกันและกัน อัน เยื่อในกระดูกเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิดเป็น อัพยากฤต ว่างเปล่า (จากอัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็น ของแข้นแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ " วกก์ - ไต (โบราณว่า ม้าน) ว่า "วักกะ เป็นก้อนเนื้อ (คู่) ติดอยู่กับเอ็นใหญ่ ซึ่งโคนเป็น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More