การวิเคราะห์จิตในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 178
หน้าที่ 178 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงประเภทของจิตตามที่กล่าวในวิสุทธิมรรค โดยเน้นถึงจิตที่มีอาการต่าง ๆ เช่น สโมหจิต ซึ่งเป็นจิตที่มีโมหะ ออกุศลจิต ๑๒ ดวงก็ถือเป็นสโมหจิต และแบ่งประเภทจิตที่แตกต่างกัน เช่น วีตโมหจิต, สังขิตตจิต จนถึงอนุตตรจิต รวมถึงการแบ่งประเภทจิตตามลักษณะและคุณสมบัติ เช่น จิตที่มีคุณธรรมที่ยิ่งกว่าและจิตที่พ้นจากกิเลสต่าง ๆ

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของจิต
-สโมหจิต
-วีตโมหจิต
-จิตที่แตกต่างตามอาการ
-วิสุทธิมรรคและการศึกษาเกี่ยวกับจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 178 สงเคราะห์เข้าในทุกะนี้ แต่พระเถระลางเหล่าก็สงเคราะห์อกุศลจิต ๑๐ นนเบาด้วย ส่วนในทุกะ คือ "สโมห์ วีตโมห์" นี้ (ว่า) โดยปาฏิบุคคลิก นัย (นัยเฉพาะตน ไม่ปนเจือ คือเป็นโมหะแท้ ไม่เจือด้วยโลภะ โทสะ ก็จิตที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ ๒ ดวงเท่านั้น ชื่อว่าสโมหจิต (จิตมีโมหะ) แต่แม้อกุศลจิต ๑๒ ดวง ก็พึงทราบว่าเป็นสโมหจิต ด้วย เพราะโมหะมีอยู่ในอกุศลทั้งปวง จิตที่เหลือชื่อวีตโมหจิต (จิต ปราศจากโมหะ) ส่วนจิตที่ (ตก) ไปตามถีนมิทธ ชื่อว่า สังขิตตจิต (จิตหดหู่) จิตที่ (ตก) ไปตามอุทธัจจะ ชื่อว่า วิกขิตตจิต (จิตฟุ้งซ่าน) จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร ชื่อว่า มหัคคตจิต (จิตถึงความ เป็นใหญ่ด้วยสามารถข่มกิเลสได้) จิตที่เหลือ (คือที่เป็นกามาวจร ?) ชื่ออมหัคคตจิต (จิตไม่ถึงความเป็นใหญ่) က จิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ชื่อสอุตตรจิต (จิตมีธรรมที่ยิ่ง กว่า) จิตที่เป็นโลกุตตระ ชื่ออนุตตรจิต (จิตไม่มีธรรมที่ยิ่งกว่า) จิตที่ถึงอุปจาร และที่ถึงอัปปนาด้วย ชื่อว่าสมาหิตจิต (จิตเป็น สมาธิ) จิตที่ไม่ถึงทั้งสองอย่าง ชื่ออสมาหิตจิต (จิตไม่เป็นที่ยิ่งกว่า) จิตที่ถึงตทังควิมุติ วิกขัมภนวิมุติ สมุจเฉทวิมุติ ปฏิปัสสัทธิ วิมุติปละนิสสรณวิมุติ พึงทราบว่าชื่อวิมุตจิต (จิตพ้น) จิตที่ยังไม่ถึง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More