ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 158
ของพรหมนั้นได้ด้วยจักษุทิพย์ ย่อมได้ยินเสียงพรหมนั้นได้ด้วยโสตธาตุ
ทิพย์ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ” ถ้าภิกษุผู้มีฤทธิ์
ได้เจโตวสีนั้น เป็นผู้ใคร่จะไปสู่พรหมโลกด้วยทิสสมานกาย (กายที่
ปรากฏ) ไซร้ เธอก็น้อมจิตไปตามอำนาจกาย อธิษฐานจิตไปตาม
อำนาจกาย ครั้นน้อมจิตไปตามอำนาจกาย อธิษฐานจิตไปตามอำนาจ
กายแล้วก้าวลงสู่สุขสัญญา (ความกำหนดหมายว่าสุข) และลหุสัญญา
(ความกำหนดหมายว่าเบา) ก็ไปสู่พรหมโลกได้ด้วยทิสสมานกาย ถ้า
ภิกษุผู้มีฤทธิ์ได้เจโตสีนั้นเป็นผู้ใคร่จะไปสู่พรหมโลกด้วยอทิสสมานกาย
(กายอันไม่ปรากฏ) ไซร้ เธอก็น้อมกายไปตามอำนาจจิต อธิษฐาน
กายไปตามอำนาจจิต ครั้นน้อมกายไปตามอำนาจจิต อธิษฐานกาย
ไปตามอำนาจจิตแล้วก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา ก็ไปสู่พรหมโลก
ได้ด้วยอทิสสมานกาย เธอนิรมิตรูปมโนนัยอันมีอวัยวะใหญ่น้อยครบ
มีอินทรีย์ (เช่นตาหู) ไม่พร่องขึ้นต่อหน้าพรหมนั้น ถ้าเธอผู้มี
ฤทธิ์นั้นจงกรม ภิกษุนิรมิตก็จงกรมอยู่ในพรหมโลกนั้นด้วย ถ้าเธอ
ผู้มีฤทธิ์นั้นหยุดยืน นั่ง นอน ภิกษุนิรมิตก็หยุดยืน นั่ง นอนอยู่ใน
พรหมโลกนั้นด้วย ถ้าเธอผู้มีฤทธิ์นั้นบังหวนควัน บันดลไฟ กล่าว
ธรรม ถามปัญหา ถูกถามปัญหาแล้วแก้ ภิกษุนิรมิตก็ยังหวนควัน
บันดลไฟ กล่าวธรรม ถามปัญหา ถูกถามปัญหาแล้วแก้อยู่ในพรหม
* เนื่องด้วยบาลีกล่าวถึงพรหมโดยเอกวจนะว่า "ตสฺส พฺรหมฺโน - ของพรหมนั้น"
ชวนให้นึกไปว่าท่านใช้วจนะผิดก็ได้ มหาฎีกาจึงช่วยไขความว่า "หมายถึงพรหมผู้ที่
ภิกษุนั้นใคร่จะเห็นรูป ใคร่จะได้ฟังเสียง ใครจะได้รู้จิตผู้เดียวเท่านั้น " ดังนี้ มหาฎีกา
ท่านช่วยแก้ปมได้ดีจริงๆ