วิสุทธิมรรค: กรรมและผลของการกระทำ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 215
หน้าที่ 215 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการเข้าถึงคติที่เป็นผลแห่งกรรมว่าด้วยหลักการที่สัตว์เกิดขึ้นตามกรรมที่ตนก่อไว้ โดยภิกษุมีการขยายอาโลกกสิณเพื่อเห็นสัตว์ในนรกและสวรรค์ ว่าก่อกรรมใดไว้จึงได้บังเกิดในสถานะนั้น ซึ่งรวมถึงการเสวยทุกข์หรือความสุขในภพต่างๆ โดยวิเคราะห์ญาณอันมีกรรมเป็นอารมณ์ การศึกษาเรื่องกรรมและผลของกรรมนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-กรรมและผลแห่งการกระทำ
-อาโลกกสิณ
-ทิพยจักษุ
-การเห็นสัตว์ในนรกและสวรรค์
-ญาณอันมีกรรมเป็นอารมณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 215 ประกอบด้วยผลแห่งโลภะ คำว่า "ยถากมุมุปเค - เข้าถึง (คติ) ตาม กรรม" คือกรรมใด ๆ ที่ตนก่อไว้ เข้าถึง (คติ) ตามกรรมนั้น ๆ [ยถากัมมูปคญาณ] ในบทเหล่านั้น กิจแห่งทิพยจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยบท ทั้งหลายข้างต้น มีบทว่า "จวมาเน" เป็นต้น ส่วนกิจแห่งยถากัมมูป คญาณ (ความรู้ว่าสัตว์เข้าถึงคติตามกรรมของตน) ตรัสด้วยบท (ยถา กมฺมุปเค) นี้ และ (ความต่อไป) นี้ เป็นลำดับความเกิดขึ้นแห่ง ญาณนั้น ภิกษุในพระศาสนานี้ ขยายอาโลกกสิณ (ลง) ไปเบื้องล่าง มุ่ง หน้าสู่นรก ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดอยู่ในนรก ที่กำลังเสวยทุกข์หนัก ความเห็นนั้นเป็นกิจแห่งทิพยจักษุเท่านั้น ภิกษุนั้นทำในใจอย่างนี้ (ต่อ ไป) ว่า "สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรเล่าหนอ จึงได้เสวยทุกข์นั้น" ลำดับนั้น ญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์” จึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นว่า "(สัตว์เหล่านั้น) ทำกรรมชื่อนี้" นัยเดียวกันนั้น ภิกษุขยาย อาโลกกสิณ (ขึ้น) ไปเบื้องบน มุ่งหน้าสู่เทวโลก ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลาย ที่กำลังเสวยมหาสมบัติอยู่ในทิพยสถาน มีนันทวัน มิสสกวัน และ ปารุสกวันเป็นอาทิ แม้ความเห็นนั้นก็เป็นกิจแห่งทิพยจักษุนั่นเอง เธอ ทำในใจอย่างนี้ (ต่อไป) ว่า "สัตว์เหล่านี้ทำกรรมอะไรหนอ จึงได้ * ปาฐะพิมพ์ไว้ว่า ติ กมมารมณ์ ญาณ์ เข้าใจว่าคลาดเคลื่อน ที่ถูกเป็นศัพท์สมาส ว่า ตึกมุมารมฺมณ์... เพราะความที่ควรจะเป็นนั้นว่า "ญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ ไม่ใช่ "ญาณอันมีกรรมเป็นอารมณ์นั้น" มหาฎีกาก็ตั้งวิเคราะห์ไว้ว่า ติ นิรยศิวฤตนิย กมุม อารมฺมณ์ เอคสสาติ ตึกกมมารมฺมณ์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More